Page 53 - kpi21193
P. 53
ทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ
ตลอดจนเครือข่ายสื่อมวลชน องค์กร และชุมชนต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
เชิงพื้นที่สำหรับใช้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้ทดลองจังหวัดปฏิรูป
การเรียนรู้นำร่องชุดที่ 1 กับ 10 จังหวัดมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นอีกจังหวัดที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นจังหวัดนำร่องในชุดที่ 2 โดยขอ
ความร่วมมือองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยงานประสานงาน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดประชุมระดมสมองเพื่อการขับเคลื่อน
โครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชุมสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุม จำนวน 111 คน
การประชุมดังกล่าว พบปัญหาด้านการศึกษาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. ปัญหาด้านความเป็นธรรม
1.1 เด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาไม่ได้รับการดูแล
1.2 ทำอย่างไรให้เด็กในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เรียนกันทุกคน
1.3 ปัญหาเด็กบกพร่องการเรียนรู้ เป็นเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง และยังพบเด็ก
จำนวนมากที่มีปัญหาการขาดแคลน
1.4 คนรวยมีที่ไป คนจนมีโอกาสน้อยกว่า พัฒนาโรงเรียนในชนบทให้มีคุณภาพ
เพื่อเป็นที่พึ่งและโอกาสของคนจน
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา 2. ปัญหาด้านคุณภาพ
2.1 ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ
(ยกเว้นโรงเรียนยอดนิยม) สอดคล้องกับผลการสอบ O-NET ค่าเฉลี่ยผลการสอบ
ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสูงกว่าโรงเรียนของรัฐทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.2 เป้าหมายด้านการศึกษาไม่ชัดเจน ครูสอนให้เด็กทำข้อสอบ ไม่ได้สอนชีวิตจริง
2.3 สุราษฎร์ธานีเมืองคนดี ทำอย่างไรให้เด็ก เยาวชน ของสุราษฎร์ธานีเป็นคนดี
โดยใช้พุทธทาสศึกษาเป็นต้นทุน
2.4 ปรับบทบาทปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
สถาบันพระปกเกล้า