Page 49 - kpi21193
P. 49

ด้านการอ่าน (Reading Disorder) คืออ่านหนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสม
                  ตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะ
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  ที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆ ที่เด็กดูมีความฉลาดรอบรู้ในด้านอื่น ๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟัง
                  จะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจ
                  ความไม่ได้ 2) ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression) คือมีปัญหา

                  ในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆ ที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น
                  สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอน

                  หรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง
                  และ 3) ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder) คือ มีปัญหาในด้าน
                  การคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข

                  ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
                  มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ


                        ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพ
                  การศึกษาการจัดการศึกษาพิเศษ ซึ่งเป็นโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและ

                  ลดความเหลื่อมล้ำให้ประชากรวัยเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กด้อยโอกาส
                  (เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ : LD) เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้อย่าง
                  เต็มตามศักยภาพ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสให้เด็กบกพร่องทาง

                  การเรียนรู้ได้แสดงออกซึ่งศักยภาพและความสามารถเฉพาะของตนเอง

                        จากความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในการดำเนินนโยบาย

                  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD) และ
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษารูปแบบสมรรถนะองค์กรและถอดบทเรียนการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
                  เป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน



                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้กรอบแนวคิด “การจัดการความรู้” และ “การบริหารแบบ
                  มุ่งผลสัมฤทธิ์” ซึ่งเป็นมุมมองการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่ ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็น

                  ประโยชน์โดยตรงต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป ที่สามารถนำเอาแบบอย่างการบริหารงาน
                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับ

                  บริบทในพื้นที่ของตน เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้สภาวการณ์
                  ที่มีการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญยังเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่น
                  ให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับการปกครองในระดับประเทศต่อไป







                  0   สถาบันพระปกเกล้า
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54