Page 52 - kpi21193
P. 52

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


                               1)  องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร และวิธีปฏิบัติขององค์การบริหาร
                                  ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับ

                                  เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD)

                               2)  องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบสมรรถนะองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

                                  สุราษฎร์ธานี  ที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง
                                  ทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD)                                  “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                               3)  ตัวอย่างการบริหารงานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับ

                                  เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability : LD) ขององค์การบริหาร
                                  ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี


                               4)  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปสามารถเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง
                                  เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตน


                      นวัตกรรมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้


                            1. สภาพปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนวัตกรรม

                              จากรายงานการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คัดเลือก

                      12 ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  เพื่อสังเคราะห์
                      และถอดบทเรียนปัจจัยสู่ความสำเร็จในการปฏิรูประบบการศึกษาของแต่ละประเทศพบว่า
                      ในมาตรการเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่แต่ละประเทศได้ดำเนินการนั้น มาตรการการกระจาย

                      อำนาจจากรัฐส่วนกลางลงสู่ภูมิภาคให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการศึกษานั้น เป็นมาตรการที่
                      แทบทุกประเทศเลือกใช้ในการสนับสนุนการปฏิรูประบบการศึกษาแทบทั้งสิ้น โดยมาจากการ          ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                      ดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษาให้ตรงต่อความต้องการของระบบ
                      เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และความหลากหลายในแต่ละภูมิภาค

                              ประเทศไทยได้จัดงบประมาณการลงทุนทางด้านการศึกษาสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

                      (เทียบงบประมาณด้านการศึกษาต่อ GDP ของประเทศ) สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีการลงทุน
                      ทางด้านการศึกษาสูงมากแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากลับตกลงทุกประเภท

                      ของการสอบทั้งในการวัดผลในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก ในการทำงานด้านการศึกษาหรือ
                      ด้านกระบวนการเรียนรู้เฉพาะกระทรวงศึกษาธิการคงไม่เพียงพอ แต่ต้องประสานความร่วมมือ





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57