Page 56 - kpi21193
P. 56
6) โรงเรียนไม่ให้ความสนใจ 7) ศูนย์การศึกษาพิเศษขาดบุคลากร งบประมาณ ห้องปฏิบัติการ
กระตุ้นพัฒนาการ และอุปกรณ์ 8) หน่วยงานในพื้นที่ให้ความร่วมมือน้อย และ 9) ผลการทดสอบ
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน
จากผลการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทาง
การเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนากลไก นวัตกรรม และเทคโนโลยีการจัดการศึกษาสำหรับ
เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาครัฐ/เอกชน และท้องถิ่นในการร่วมกัน
พัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
3. เพื่อให้เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพ
ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ขั้นตอนแรกของการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ คือ
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้กับ
ผู้บริหารและครู เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ในกระบวนการจัดการ
เรียนการสอน ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีการอบรมเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ เนื่องจากครูผู้สอนมีความใกล้ชิดเด็กสามารถคัดกรองเบื้องต้นก่อนส่งต่อไปยัง
โรงพยาบาล
ในขั้นตอนของกระบวนการคัดกรองเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก
โรงเรียนต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและมีกระบวนการที่ทำให้ผู้ปกครองยอมรับว่าเด็กเป็น
เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งจะได้ร่วมมือกับสถานศึกษาพัฒนาเด็กอย่างถูกวิธี ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
จากนั้นได้มีการจ้างครูผู้สอนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
จำนวน 24 คน ให้กับสถานศึกษาทุกสังกัด เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ในสถานศึกษา มีพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณที่ดีขึ้น และจัดคณะนิเทศ
ออกไปติดตามเป็นระยะๆ
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะใช้
สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้โดยเฉพาะ โดยสื่อที่ใช้ครูผู้สอน
จะผลิตสื่อเอง และใช้สื่อสำเร็จรูปเพิ่มเติม ตัวอย่างสื่อประกอบการเรียนการสอน
สถาบันพระปกเกล้า