Page 224 - kpi21193
P. 224
สำหรับจุดแข็งวิธีปฏิบัติขององค์กรด้าน “วิถีแห่งการเติบโต” หมายถึง การที่
อบต.ข่วงเปา มีขีดความสามารถที่เป็นจุดเด่นในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ซึ่งมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
1) วิธีปฏิบัติในการเรียนรู้ขององค์กร มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
กระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน ไว้ในแฟ้มเอกสารอย่างเป็นระบบ ในทางการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผนงาน และการกำหนดโครงการ อบต.ข่วงเปา มักนำ
ผลการประเมินงาน ข้อมูลสถิติ และประสบการณ์ที่ผ่านมา มาปรับใช้เพื่อป้องกันมิให้เกิด
ข้อผิดพลาดซ้ำเดิม หน่วยงานมีการสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ด้วยการหาโอกาสร่วมงานและเรียนรู้การทำงานจากพวกเขาทุกครั้งที่มีโอกาส อบต.ข่วงเปา
มักจะทำการประเมินผลนโยบายและโครงการ เพื่อเรียนรู้ความผิดพลาด และปรับปรุงการ
ดำเนินงาน เมื่อมีปัญหาใหม่ในการทำงาน หน่วยงานมักจัดการอบรม/ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหา
นั้นทันที โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินการ แล้วนำความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรม
เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการทำงาน และบุคลากรของ อบต.ข่วงเปา มักมีการรวมกลุ่มกับ
เพื่อนร่วมงานที่มีความเชี่ยวชาญและความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
และปัญหาที่เผชิญร่วมกันเป็นระยะ
2) วิธีปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ผู้บริหาร อบต.ข่วงเปา มักแสดงความเป็นผู้นำ
ในการริเริ่มและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร การปฏิบัติที่ได้ลำดับรองลงมาคือ
การที่องค์กรจะไม่ลังเลที่จะทำงานเร่งด่วนในทันที แม้ว่างานนั้นยากและท้าทายเพียงใดก็ตาม
อบต.ข่วงเปา มักจะมีการปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน และทบทวนประสิทธิภาพการทำงานทีละเล็ก
ละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ อบต.ข่วงเปา มักจะพัฒนาและริเริ่มแนวคิด
การดำเนินงานใหม่ๆ โดยเรียนรู้มาจากการดำเนินงานขององค์กรอื่น อบต.ข่วงเปา มักจะยกเลิก
นโยบายและโครงการที่ไม่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน แม้ว่าที่ผ่านมานโยบายและโครงการ
ดังกล่าวจะเคยประสบความสำเร็จมาแล้วก็ตาม และแม้ว่ามีการเปลี่ยนนายกฯ แนวคิดการปฏิรูป ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
องค์กรที่ริเริ่มโดยนายกฯ คนก่อนมักได้รับการสานต่อเสมอ นอกจากนี้ยังพบว่า อบต.ข่วงเปา
มีการดำเนินการปฏิรูปองค์กรทั้งหมดทีละเล็กละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และบุคลากรส่วนใหญ่
มีความเห็นว่านายกฯ เท่านั้นที่สามารถริเริ่มการพัฒนา/การปรับปรุงองค์กร แนวทางการทำงาน
หรือโครงการใหม่ๆ โดยปลัด ผอ. และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการเป็นผู้รับเอาความคิดดังกล่าวไป
ปฏิบัติ
3) วิธีปฏิบัติในการบริหารความสามารถพิเศษของบุคลากร มีการมอบหมายให้
บุคลากรไปปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อให้พวกเขาได้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการนำนโยบายและ
สถาบันพระปกเกล้า 21