Page 225 - kpi21193
P. 225
โครงการต่างๆ ไปปฏิบัติ หากบุคลากรได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานภายนอก ก็มักจะนำ
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันแก่บุคลากรคนอื่นๆ บุคลากรของ อบต. มักพัฒนา
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน โดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากฝ่ายพัฒนาบุคลากร/ฝ่าย
การเจ้าหน้าที่ อบต.ข่วงเปา มักจะมีถ่ายทอดความรู้และทักษะแก่บุคลากรที่ยังมีประสบการณ์
น้อยด้วยการทำงานร่วมกัน อบต.ข่วงเปา มักจะมีการมอบหมายงานให้บุคลากรโดยคำนึงถึง
ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความก้าวหน้าทางอาชีพ นอกจากนี้ยังมีการใช้
การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นเครื่องจูงใจให้บุคลากรปรับปรุงความสามารถ
โดยไม่นำผลการประเมินของแต่ละบุคคลมาเปรียบเทียบกัน และมักจะจัดกิจกรรมส่งเสริม
และพัฒนาภาวะผู้นำและทักษะด้านการบริหารจัดการให้แก่บุคลากรระดับหัวหน้าส่วนงานขึ้นไป
เป็นประจำ
2. สมรรถนะด้านวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละด้านมาสรุปผลเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยที่ได้จากผู้ตอบ
แบบสอบถาม โดยภาพรวมวัฒนธรรมองค์กรนั้น พบว่า อบต.ข่วงเปา มีวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญพิเศษในระดับสูงมาก
ค่าเฉลี่ย 3.33 (Too High: Innovative) รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ
ระดับสูงมาก ค่าเฉลี่ย 3.32 (Too High: Committed) วัฒนธรรมเกี่ยวกับพิธีการและมาตรฐาน
ที่มีลักษณะเป็นทางการ ค่าเฉลี่ย 3.23 ระดับสูงมาก (Too High: Formal) วัฒนธรรมองค์กร
ที่เกี่ยวกับลำดับขั้นและการควบคุม ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.53 (High: Hierarchical) วัฒนธรรม
การรักษาความสัมพันธ์ภายในองค์กร ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.25 (High: Collective) และวัฒนธรรม
องค์กรที่มีอิสระและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.23 (High: Internal
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
Driven) ตามลำดับ
21 สถาบันพระปกเกล้า