Page 223 - kpi21193
P. 223

อบต.ข่วงเปา มักนำข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลตัวเลข ค่าคะแนนต่างๆ มาใช้สนับสนุนข้อถกเถียง
                  ในการทำงานที่เกิดขึ้น หรือใช้โน้มน้าวการตัดสินใจสั่งการของผู้บังคับบัญชา
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                          2) วิธีปฏิบัติในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา อบต.ข่วงเปา มักจะมีการปรึกษา
                  ผู้เชี่ยวชาญ (อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ข้าราชการผู้มีประสบการณ์ ปราชญ์ชาวบ้าน)/

                  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะเห็นว่าความรู้ของพวกเขาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในการทำงาน
                  ที่เกิดขึ้นได้ บุคลากรของ อบต.ข่วงเปา มักทบทวนแผนงาน/โครงการเป็นระยะ เพื่อปรับปรุง
                  การดำเนินงานให้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (ตรวจสอบว่าวัตถุประสงค์หรือ

                  แนวทางเดิมยังเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่) และบุคลากร อบต.ข่วงเปา มักจะให้
                  ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดระหว่างการดำเนินงาน เพราะมองว่าสิ่งนั้นอาจเป็น

                  ประโยชน์ต่อการสร้างนวัตกรรม หรือปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร นอกจากนี้ พบว่า
                  อบต.ข่วงเปา จะคำนึงถึงการนำความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในการแก้ไขปัญหาการทำงาน
                  และคำนึงถึงการนำความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในการแก้ไขปัญหาการทำงาน

                  อบต.ข่วงเปา มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาวิธีการในการแก้ไขปัญหาไว้หลากหลายทางแล้ว
                  จึงเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด อบต.ข่วงเปา มักศึกษาหาความรู้/ประสบการณ์ใหม่ๆ จาก

                  หน่วยงานอื่นไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหา
                  ในการทำงานของตน และการทดลองใช้แนวทางใหม่ๆ (ที่ยังไม่รู้ผลลัพธ์ที่แน่นอน) ในการแก้ไข
                  ปัญหาในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิผล


                          3) วิธีปฏิบัติในการเอื้อให้เกิดนวัตกรรม อบต.ข่วงเปา มีการส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนา
                  ความรู้และทักษะจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การให้ความไว้วางใจแก่บุคลากรให้ใช้

                  ดุลพินิจในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำเสนอโครงการ
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   นอกจากนี้ บุคลากรของ อบต.ข่วงเปา มักได้รับการส่งเสริมให้แก้ไขปัญหาหน้างาน/ปัญหาเฉพาะ
                  หรือกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมต่อผู้บังคับบัญชาได้ แม้ไม่ใช่ฝ่ายแผนหรือหน่วยงานวิชาการ



                  หน้าด้วยตนเอง แทนที่จะส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ และเมื่อจะวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไข
                  ปัญหาในการทำงาน อบต.ข่วงเปา มักจะดำเนินการโดยบุคลากรภายใน (แทนที่จะใช้บุคลากร

                  ภายนอก อาทิ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์มหาวิทยาลัย) อบต.ข่วงเปา มักจะส่งเสริมให้บุคลากร
                  ไปอบรมในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานโดยตรง (เช่น ส่งนักวิเคราะห์ฯ ไปอบรมเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ

                  การทำแผน) เพื่อช่วยให้พวกเขามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือมีมุมมองนอกกรอบ และผู้บังคับ
                  บัญชาที่มักจะไม่ค่อยให้บุคลากรทำโครงการเดิมๆ ที่เชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จมากกว่า
                  ให้ทำโครงการใหม่เพราะกลัวว่าจะล้มเหลว








                21    สถาบันพระปกเกล้า
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228