Page 218 - kpi21193
P. 218
เป็นผู้ควบคุมการใช้น้ำและซ่อมแซมฝาย โดยมีกฎระเบียบในการเก็บค่าธรรมเนียม
เพื่อใช้ในการดูแลรักษาแหล่งน้ำของตนเอง ซึ่งหากพบปัญหา หรือต้องการ
ความช่วยเหลือ จะมีการประสานงานกับ อบต.ข่วงเปา เพื่อขอคำปรึกษา หรือ
ประสานงานขอความช่วยเหลือไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในลำดับต่อ
ไป เพื่อขอสนับสนุนเครื่องจักรกลและกำลังคนในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
2) การพัฒนาแหล่งน้ำและต้นทุนน้ำ โดยมีองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมและ
สนับสนุนการดำเนินการ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุน
งบประมาณขุดลอกอ่างเก็บน้ำ สนับสนุนบุคลากรและเครื่องจักรในการขุดลอก “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ทรายแม่น้ำปิง ขุดลอกลำห้วยและทางระบายน้ำ, หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 36
ช่วยวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ประชุมวางแผนจัดทำ
โครงการขุดอ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรอง, การประปาส่วนภูมิภาคอำเภอ
จอมทอง ให้ความช่วยเหลือในการแนะนำ ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาให้กับ
ประชาชนในพื้นที่โดยการเสนอแนวทาง และแนะนำวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัด
ให้กับประชาชน, บริษัท ซี.พี.เอฟ. จำกัด (มหาชน) เป็นภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือ
ในการแก้ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เช่น การให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำสามารถใช้
น้ำจากบ่อที่ผ่านการบำบัดมาใช้ในพื้นที่การเกษตรได้หากเกิดปัญหาภัยแล้ง
ในอนาคต และมีการบริจาคกระสอบปุ๋ยอาหารสัตว์สำหรับการทำฝายชะลอน้ำ
เป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ในการบูรณาการโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว
ตามแนวนโยบายทั้ง 2 ส่วนข้างต้นนั้น ได้มีการดำเนินการควบคู่กันไปกับมาตรการต่างๆ เพื่อ
การเชื่อมโยงโครงข่ายของแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และสถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า
(ภาพโครงข่ายของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตำบล ข่วงเปา) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
มาตรการที่ 1 การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำที่ตื้นเขิน โดยได้ประสาน ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
การทำงานกันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36 ในการสนับสนุนเครื่องจักรกล และทรัพยากรอื่นๆ เพื่อขุดลอก
อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่
มาตรการที่ 2 การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่าง ต้นน้ำ กลางน้ำ และ
ปลายน้ำ โดยอาศัยต้นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยมีการบริหารจัดการน้ำในระบบเหมืองฝาย
ได้แก่ เหมืองผาอูฐ เหมืองหลวง และเหมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประมาณ 15,000 ไร่
ประชาชนในพื้นที่ข่วงเปาได้รับประโยขน์ประมาณ 1,900 ครัวเรือน
สถาบันพระปกเกล้า 20