Page 219 - kpi21193
P. 219

มาตรการที่ 3 ผันน้ำจากแม่น้ำปิง ไปสู่พื้นที่การเกษตรโดยใช้ศูนย์พลังไฟฟ้า 5 สถานี
                  ได้แก่ สถานีสูบน้ำบ้านท่าศาลา หมู่ 3 สถานีสูบน้ำบ้านสันดอย สถานีสูบน้ำบ้านห้วยน้ำดิบ สถานี
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  สูบน้ำบ้านหนองห่าย หมู่ 2 และสถานีสูบน้ำวังดิน หมู่ 7 ตามลำดับ

                          มาตรการที่ 4 การเชื่อมโครงข่ายระหว่างอ่างเก็บน้ำ ลำเหมืองสาธารณะ โครงข่าย

                  ธรรมชาติตามโครงการก่อสร้างระบบรางน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก และผันน้ำจากฝายเหมืองใหม่
                  ซึ่งเป็นทางน้ำมาจากน้ำตกแม่กลาง เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร


                          มาตรการที่ 5 การส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน
                  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น โครงการ
                  ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น, โครงการปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน, โครงการปลูกหญ้าแฝกตามแนว

                  พระราชดำริ, โครงการรณรงค์อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, โครงการ
                  อนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและจัดหาพันธุ์ปลาปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ, โครงการลดมลพิษในอากาศ

                  และป้องกันหมอกควันไฟป่า และโครงการจัดทำแนวกันไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของ
                  การสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณีวัฒนธรรม ได้มีการดำเนินโครงการ เช่น โครงการบวชป่า
                  และสืบชะตาป่าชุมชน, ประเพณีพิธีกรรมการเลี้ยงผีฟ้าผีฝาย เป็นต้น


                          มาตรการที่ 6 การสร้างความเข้าใจกับผู้ใช้น้ำและบริหารจัดการร่วมกันอย่างบูรณาการ
                  การรับฟังปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง


                  ภาพที่ 3 โครงข่ายของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตำบลข่วงเปา




            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา






















                  ที่มา: รายงานนวัตกรรมการจัดการน้ำของ อบต.ข่วงเปา




                210   สถาบันพระปกเกล้า
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224