Page 220 - kpi21193
P. 220

ความสำเร็จของการดำเนินการ


                            จากการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในระยะยาวดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่ผลสำเร็จดังต่อไปนี้

                            1)  เป็นการแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้รับ
                      ความช่วยเหลือ สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคได้ และสามารถ

                      ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ใช้การได้ซึ่งครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ มีถังเก็บน้ำติดตั้ง
                      กระจายทั่วทั้งพื้นที่ตำบลเพื่อเป็นจุดให้บริการน้ำ และยังมีอ่างเก็บน้ำ ที่สามารถเก็บกักและ

                      รองรับการผันน้ำเพื่อทำระบบประปาหมู่บ้านให้กับครัวเรือนในพื้นที่                        “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                            2)  เกิดระบบประปาหมู่บ้านและระบบประปาส่วนภูมิภาคที่สามารถใช้งนได้ทุกหมู่บ้าน
                      มีน้ำในระบบประปาหมู่บ้าน มีสถานีสูบน้ำเพื่อสูบน้ำให้บริการและผันน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำและ

                      พื้นที่เกษตร

                            3)  เกิดการประสานงบประมาณกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาขุดลอกอ่างเก็บน้ำ

                            4)  สามารถบริหารจัดการน้ำและแก้ไขวิกฤติปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน โดยบริหารจัดการ
                      น้ำให้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในพื้นที่ด้วยการผันน้ำจากแม่น้ำปิงและอ่างเก็บน้ำอย่างเป็นระบบ
                      เพื่อให้ประชาชนใช้ในการอุปโภคและบริโภค และให้เกษตรกรสามารถผลิตลำไยและมะม่วง

                      ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ และการเกษตรด้านอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

                      ความโดดเด่นของการบริหารจัดการน้ำของ อบต.ข่วงเปา


                            1) มีการนำประสบการณ์ ความชำนาญของปราชญ์ชุมชน ในรูปแบบที่เรียกว่า

                      “แก่เหมือง” (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) และกลุ่มผู้ใช้น้ำพลังไฟฟ้า ประธานคณะกรรมการประปาระดับหมู่บ้าน
                      มาช่วยในการดำเนินโครงการ

                            2) บูรณาการประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น (การเลี้ยงผีฝาย การบวชป่า) ในการ

                      จัดการน้ำ                                                                              ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                            3) รับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เกิดการมีส่วนร่วม
                      ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

                            4) มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา (ศูนย์พลังงานไฟฟ้า และระบบ

                      รางระบายน้ำ)

                            5) การบูรณาการงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้
                      เกิดการนำประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยี การบูรณาการงานและงบประมาณ เพื่อใช้ในการ

                      แก้ปัญหาในพื้นที่


                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   211
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225