Page 216 - kpi21193
P. 216

จากภาพที่ 1 การดำเนินนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ สามารถสรุปได้เป็น 3 ระยะ
                      ได้แก่


                              ระยะที่ 1 การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการตรวจสอบปัญหาและวางแผนล่วงหน้า ได้มีการ
                      จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

                      ขณะเกิดภัยแล้ง และหลังเกิดภัยแล้ง ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานราชการ หลังจากนั้น
                      อบต.ข่วงเปา และภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาชิกเครือข่ายป้องกันและ
                      บรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการเพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ อบต.ข่วงเปา อย่างยั่งยืน

                      ซึ่งสมาชิกฯ จะประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มผู้ใช้น้ำ (กลุ่มเหมืองฝาย) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำจาก  “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      แหล่งน้ำธรรมชาติจากน้ำตกแม่กลาง เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตัวแทนกรมทรัพยากรน้ำ

                      ลุ่มน้ำสาขาแม่กลาง บริษัท ซี.พี.เอฟ. จำกัด (มหาชน) ชมรมอาสาป้องกันไฟป่า อาสาอนุรักษ์
                      ป่าชุมชน อำเภอจอมทอง อบจ.เชียงใหม่ การประปาส่วนภูมิภาค และหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 36
                      กลุ่มผู้ร่วมเครือข่ายการทำงานฯ ดังกล่าวนี้ จะมุ่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่ประชาชนได้รับ

                      ผลกระทบในช่วงวิกฤติภัยแล้ง มีการดำเนินการด้านการบริหารจัดการน้ำ และร่วมกันวางแผน
                      การแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อย่างยั่งยืน มีการขยายและเพิ่มพื้นที่เพื่อการกักเก็บน้ำ และ

                      มีความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

                              ผู้บริหารของ อบต.ข่วงเปา และเครือข่ายความร่วมมือฯ ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อ

                      ตรวจสอบความเสียหายของพื้นที่และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และได้นำข้อมูล
                      ที่ได้ไปประกอบกับการวางแผนเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ โดยใน
                      การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อการลดความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการแย่งกันใช้น้ำ ได้มี

                      การจัดสรรการใช้น้ำให้แก่ประชาชนและเกษตรกร โดยมี อบต.ข่วงเปา เป็นผู้ประสานงานหลัก
                      ของเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ความร่วมมือ เช่น

                      ความช่วยเหลือจากอำเภอจอมทองในฐานะของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤติภัย
                      แล้งอำเภอในการเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนเครื่องจักรกล งบประมาณ     ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      เพื่อใช้ในการบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะแรก




















                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   20
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221