Page 212 - kpi21193
P. 212
นอกจากนี้ จุดแข็งดังกล่าวยังเกิดจากการที่นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่มี “ความพร้อมในการ
บุกเบิกสิ่งใหม่” คือ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือริเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ๆ แม้ว่า
จะขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมา
สมรรถนะขององค์กรด้านศักยภาพความเป็นผู้นำที่เป็นจุดแข็งประการถัดมา คือ
นายกเทศมนตรีมี “ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญของสถานการณ์ และ
สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน” อันมีสาเหตุมาจาก “การเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความ
เป็นจริง ปราศจากอคติ” ซึ่งนายกฯ มักจะสำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การลงพื้นที่
สำรวจดูด้วยตนเอง การพูดคุยกับประชาชน อีกทั้ง ยังเป็นผลมาจากการ “แสวงหาความรู้ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
มาปรับใช้กับการทำงาน”
นอกจากนี้ สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งอีกประการ คือ นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่มี
“ความสามารถในการสื่อสารถึงสาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ”
ซึ่งเกิดจากการที่นายกฯ มีการ “สร้างกรอบความคิด” ดังจะเห็นได้จากการที่นายกฯ มักจะใช้
การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ หรือแผนภาพ ประกอบการอธิบายเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟัง
เข้าใจสาระสำคัญที่นายกฯ ต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจนทั้งต่อบุคลากรภายในองค์กร และ
กับประชาชนในชุมชนเขตเทศบาล อีกทั้ง จุดแข็งดังกล่าวยังเกิดจากการที่นายกเทศมนตรีเมือง
กระบี่มี “สามารถในการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทเฉพาะ” โดยที่นายกฯ สามารถถ่ายทอดคำสั่ง
ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ประชาชน และภาคส่วนอื่น เข้าใจได้ตามสถานการณ์
บทสรุป
การดำเนินงานนวัตกรรม “การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยศิลปวัฒนธรรม” เทศบาลเมือง
กระบี่ ได้สะท้อนให้เห็นแนวทางการบริหารงานที่เป็นเลิศ ทั้งในวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เอื้อต่อ
การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่
วัฒนธรรมองค์กรที่สร้างตัวแบบแห่งการเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจกันในระหว่างบุคลากรของเทศบาล ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
เอง และต้นแบบที่สำคัญอันจะนำไปสู่ความสำเร็จได้คือ ศักยภาพของผู้นำ ซึ่งนายกเทศมนตรี
เมืองกระบี่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ทั้งในด้านแนวคิดและวิธีปฏิบัติ
สถาบันพระปกเกล้า 20