Page 208 - kpi21193
P. 208

2) วิถีแห่งการดำเนินงาน

                                ในการดำเนินงานโครงการนวัตกรรม สมรรถนะขององค์กรที่เป็นจุดแข็งของเทศบาล

                      เมืองกระบี่ คือ “การประสานงานกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร”
                      ซึ่งเป็นผลมาจาก “การหาข้อตกลงร่วมกันอย่างทั่วถึง” โดยภายในองค์กรจะมีการประชุม

                      ผู้บริหารเทศบาล ส่วนการประสานงานภายนอกองค์กรนั้น เป็นการสร้างความเข้าใจผ่าน
                      การประชาคม และเวทีประชุมสัญจรที่จัดขึ้นในชุมชน


                                ส่วนสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งอีกประการ คือ การมี “วิธีการบริหารจัดการองค์กร
                      ที่ดี” เพื่อรองรับการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมนี้นั้น เป็นผลมาจาก “การแบ่งอำนาจ” ซึ่งมี     “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      2 ส่วนด้วยกัน คือ การแบ่งอำนาจภายในองค์กร เช่น การบริหารงานของเทศบาล นายกเทศมนตรี

                      มีการแบ่งอำนาจให้รองนายกทั้ง 4 ท่านอย่างทั่วถึง ส่วนการแบ่งอำนาจภายนอกองค์กรนั้น
                      เทศบาลเมืองกระบี่เน้นการให้อำนาจประชาชนในการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน

                      ผ่านการประชาคม จากนั้น เทศบาลได้ใช้หลักการสำคัญที่สุด คือ การกระจายเงินให้ชุมชนได้
                      บริหารจัดการ ตัวอย่างเช่น การจัดการแสดงศิลปะ เทศบาลเมืองกระบี่ได้สนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้าน
                      นำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปร่วมจัดในงานด้วย


                              3) วิถีแห่งการเติบโต

                                จากการศึกษา พบว่า สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของเทศบาลเมืองกระบี่ ได้แก่

                      “วิธีปฏิบัติที่องค์กรใช้ในการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งมีสาเหตุมาจาก “การสนับสนุนภาวะผู้นำ
                      ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง” โดยสร้างผู้นำให้เกิดขึ้นในแต่ละกอง นั่นคือ การสร้าง Change
                      Agent ดังเช่นกรณีของผู้อำนวยการที่เป็นผู้บริหารหลักของศูนย์วัฒนธรรมอันดามัน ถือได้ว่า

                      เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนให้ทำงาน โดยผู้อำนวยการท่านดังกล่าว
                      มีการทำงานเชิงรุก มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สร้างทีมใหม่ๆ ขึ้นมา โดยได้บุคลากรหลายๆ กอง

                      มาเป็นส่วนสนับสนุน และสร้างคนรุ่นใหม่                                                  ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                                เทศบาลเมืองกระบี่ยังมีสมรรถนะขององค์กรที่เป็นจุดแข็ง คือ “วิธีการปฏิบัติของ

                      องค์กรในการบริหารความสามารถพิเศษของบุคลากร” ซึ่งเป็นผลมาจาก “การให้คุณค่าแก่
                      ประสบการณ์ภาคสนาม” โดยมีการให้บุคลากรได้ทดลองทำงานอื่นๆ เพื่อเป็นการสั่งสม
                      ประสบการณ์ภาคสนาม อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามารถพิเศษให้เกิดขึ้นในตนเองด้วย

                      นอกจากนี้ สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งดังกล่าวยังเกิดมาจาก “การแบ่งปันความรู้” การถ่ายทอด
                      องค์ความรู้ต่างๆ ร่วมกันเพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้







                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213