Page 210 - kpi21193
P. 210

สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งของเทศบาลกระบี่ด้านวัฒนธรรมองค์กรในอันดับต่อมา ได้แก่
                      “วัฒนธรรมตามลำดับขั้นและการควบคุม” ซึ่งการดำเนินงานสามารถประสบผลสำเร็จได้

                      เป็นผลมาจาก “ทัศนคติเกี่ยวกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน” โดยเทศบาลเมืองกระบี่ได้กำหนด
                      ตัวชี้วัดเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ครอบคลุมและชัดเจน


                              ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังพบว่า เทศบาลเมืองกระบี่ยังมีสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งด้าน “วัฒนธรรม
                      องค์กรที่มีอิสระและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น” ซึ่งเกิดจาก “ทัศนคติต่อการใช้ดุลยพินิจ”
                      โดยการให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีอิสระในการประยุกต์แผนงานให้สอดคล้องกับบริบท

                      ในพื้นที่ มากกว่าปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เนื่องจากในเทศบาลเมืองกระบี่จะมีบุคลากร  “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      หลายรุ่น จึงมีการให้อิสระทางความคิด และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับกลางและบุคลากรที่เป็น

                      คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการคิดแผนงาน กิจกรรมต่างๆ อย่างมีอิสระ และมีการหารือร่วมกัน

                                     สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งอีกประการของเทศบาลเมืองกระบี่ คือ “วัฒนธรรมองค์กร

                      เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ” เกิดจากการที่เทศบาลเมืองกระบี่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนา
                      ความรู้และทักษะของตนเอง มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ปรับปรุง แก้ไข และกระตุ้นให้บุคลากร
                      มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความรู้ และทักษะที่ใช้ในการทำงานด้วยตนเอง จนบุคลากร

                      มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

                            3. ศักยภาพความเป็นผู้นำ


                              จากแบบสอบถามที่เก็บจากกลุ่มประชาชน กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
                      เทศบาลเมืองกระบี่ เกี่ยวกับศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity) โดยมีการถาม

                      ในข้อย่อย คือ ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี ความสามารถในการทำความเข้าใจ
                      สาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ความสามารถ
                      ในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้

                      ใหม่ ความสามารถในการสื่อสารถึงสาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ       ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ความสามารถในการบริหารจัดการอำนาจเพื่อขับเคลื่อนให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้

                      และความสามารถในการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีปัญญาเชิงปฏิบัติ ซึ่งในแต่ละข้อย่อยได้ให้
                      ผู้ตอบแบบสอบถามตอบใน 4 ระดับด้วยกัน คือ (4) ทำประจำสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ตลอดเวลา
                      (3) ทำบ่อยครั้ง (2) ทำบ้าง นานๆ ครั้ง และ (1) ไม่ทำเลย จากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์

                      โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และเมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Radian Chart ใน 6 ด้าน พบว่า ผู้นำของ
                      เทศบาลเมืองกระบี่มีความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี (90.30%) รองลงมา คือ

                      มีความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงอย่าง





                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   201
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215