Page 159 - kpi21193
P. 159

3. ศักยภาพความเป็นผู้นำ

            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                          3.1 สำหรับผู้บริหาร ศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity) เป็นการศึกษา
                  ศักยภาพการเป็นผู้นำของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยวัดจาก (1) ความสามารถ
                  ในการตัดสินใจเพื่อสิ่งที่ดี (2) ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญของสถานการณ์

                  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน (3) ความสามารถในการสร้างพื้นที่และ
                  ความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ (4) ความสามารถ

                  ในการสื่อสารถึงสาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ (5) ความสามารถ
                  ในการบริหารจัดการอำนาจเพื่อขับเคลื่อนให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ (6) ความสามารถ
                  ในการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีปัญญาเชิงปฏิบัติ (องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง)

                  การศึกษากับผู้นำของเทศบาลเมืองลำพูน ประเด็นที่ถือว่ามีศักยภาพมากที่สุด คือ ความสามารถ
                  ในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่


                  แผนภาพที่ 3 การเปรียบเทียบศักยภาพความเป็นผู้นำ


















            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

















                          3.2 สำหรับประชาชน ประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity)

                  ของผู้บริหารท้องถิ่น ศึกษา 6 มิติเช่นเดียวกับการศึกษากับผู้บริหาร พบว่า ศักยภาพผู้นำเทศบาล
                  เมืองลำพูนในทัศนะของประชาชน มีค่าคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ กว่าร้อยละ 80 ทุกประเด็น




                1 0   สถาบันพระปกเกล้า
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164