Page 164 - kpi21193
P. 164

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและร้อยละของสมรรถนะองค์กรรวม


                                             สมรรถนะองค์กร                        ค่าเฉลี่ย   ร้อยละ
                       วิถีปฏิบัติขององค์กร (Organizational Practice)              3.37       79.11

                       วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)                     2.77       58.63

                       ศักยภาพผู้นำ (Leadership Capacity)
                             -ทัศนะของผู้บริหาร                                    3.55       84.94
                             -ทัศนะของประชาชน                                      3.54       84.66

                                                 รวม                               3.31       76.92          “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น


                      วิเคราะห์สาเหตุซึ่งเป็นที่มาของสมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็ง


                            ความสำเร็จของนวัตกรรมที่โดดเด่นของเทศบาลเมืองลำพูน คือ การอนุรักษ์พื้นที่มรดก
                      วัฒนธรรมด้วยการสร้างจิตสำนึกถึงคุณค่า การอนุรักษ์-ปรับปรุงภูมิทัศน์วัฒนธรรมทางกายภาพ
                      และการสร้างความยั่งยืนทั้งทางสังคมและระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเกิดจาก

                      ปัจจัยดังต่อไปนี้

                            1) ศักยภาพผู้นำ (Leadership Capacity)


                              ผู้นำที่สำคัญมากของเทศบาลเมืองลำพูน คือ นายกเทศมนตรี นายกฯจะเป็น “คนนำ”
                      ทั้งใน เชิงแนวคิดและการปฏิบัติ


                              การนำในเชิงแนวคิด แนวคิดในการบริหารงานของนายกเทศมนตรีโดยเฉพาะประเด็น
                      เรื่องการให้บริการสาธารณะต่อประชาชน นายกฯ ให้นโยบายกับพนักงานเทศบาลเสมอว่า
                      “ห้ามปฏิเสธข้อเสนอแนะข้อร้องเรียนของชาวบ้าน” เรื่องปัญหา ข้อเสนอแนะทุกเรื่องที่

                      ชาวบ้านเสนอมาให้รับเรื่องมาก่อนและนำมาพิจารณาในองค์กรว่าทำได้หรือไม่ตามข้อเสนอ         ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ของประชาชน หากทำได้ให้รีบทำ แต่หากทำไม่ได้ในขณะนั้นให้คุยหารือกับประชาชนเพื่อทำ

                      ความเข้าใจ นายกฯ ไม่ต้องการให้มีความขัดแย้งกับประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ
                      การให้บริการสาธารณะของเมือง นายกฯอาศัยช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลาย
                      ช่องทาง เช่น ไลน์ วารสารของเมือง สื่อสารกับตัวบุคคล อาทิ เจ้าอาวาส ศิลปิน วัฒนธรรมจังหวัด

                      ฯลฯ และการใช้สภากาแฟเป็นอีกช่องทางในการสื่อสาร ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือน ดังที่นายกฯ กล่าวว่า
                      “เรื่องใดที่ทำแล้วประชาชน Happy ก็จะทำ” แสดงถึงวิสัยทัศน์ที่มุ่งให้ความสำคัญกับ

                      ประชาชนเป็นสำคัญ






                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169