Page 167 - kpi21193
P. 167

ส่วน “การนำในเชิงการปฏิบัติ” ของนายกเทศมนตรีเมืองลำพูนที่เห็นเด่นชัดคือ
                  การลงพื้นที่ไปดูหน้างานด้วยตนเองและทำเป็นประจำ หัวหน้าสำนักงานปลัดกล่าวว่า “นายกฯ
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  ลงพื้นที่บ่อย ๆ  อย่างเสาร์อาทิตย์นายกฯ ก็จะขี่มอเตอร์ไซด์มาตรวจพื้นที่ หรือเมื่องาน
                  มีปัญหา นายกฯ จะหารือร่วมกันกับปลัดเทศบาล และรีบสื่อสารกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทาง
                  แก้ไขปัญหา” การแข็งขันในทางการปฏิบัติทำให้พนักงานเทศบาลในระดับปฏิบัติการต้องแข็งขัน

                  ด้วย อย่างเช่นปลัดเทศบาล เมื่อรับนโยบายจากนายกฯ ก็จะรีบดำเนินการทันที ปลัดเทศบาล
                  ให้สัมภาษณ์ว่า “ผมชอบอ่านหนังสือเรื่องเมืองเก่าของที่อื่น ตัวอย่างจากต่างประเทศ หากอ่าน

                  แล้วคิดแนวทางการดำเนินงานเรื่องเมืองเก่าได้ผมก็จะรีบโทรไปสั่งลูกน้องให้จดบันทึกไว้เพื่อ
                  จะได้ไม่ลืม บางครั้งโทรไปตอนตีสองก็มี” มีอีกหลายเรื่องที่บุคลากรระดับบริหารกล่าวไป
                  ในทำนองเดียวกัน คือ นายกฯ ทำทันทีแก้ไขปัญหาทันทีเมื่อประชาชนมีปัญหาหรือไม่เห็นด้วยกับ

                  การให้บริการสาธารณะของเทศบาล และนายกฯเองก็ได้เล่าให้ฟังว่า “ผมไปติดตั้งเสาไฟในพื้นที่
                  สาธารณะเพื่อหวังว่าจะมีแสงสว่าง ให้ประชาชนปลอดภัย โดยเฉพาะในที่พื้นที่หน้าโรงเรียน

                  แต่พอทำเสร็จแล้ว ประชาชนร้องเรียนว่าเสาไฟปักแกะกะทำให้จอดรถรับส่งนักเรียนไม่ได้
                  ผมก็รีบไปเอาออกและนำไปปักที่อื่น การบริหารท้องถิ่นเราทำเพื่อประชาชน เมื่อประชาชน
                  ไม่ชอบเราก็ไม่ทำ เราจะไม่ทะเลาะกับประชาชน” หลายเรื่องที่เป็นนโยบายเมื่อเสนอลงไป

                  ในชุมชนแล้วชุมชนไม่เอาด้วย อย่างเช่นการทำโคม นายกฯ พยายามโน้มนาวจูงใจให้ชาวบ้านหัน
                  มาทำโคมส่งขายให้วัด แต่ได้รับการต่อต้านก็มิได้ยอมแพ้ นายกฯ ยังคงทำและเริ่มกับชุมชนเล็ก ๆ

                  ต่อไป ทำเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านเห็นว่าการทำโคมสร้างรายได้ ในปีแรกชาวบ้านทำโคมได้
                  ไม่มากนัก ในปีต่อมาชาวบ้านทำได้มากกว่าหนึ่งหมื่นลูก การทำเป็นตัวอย่างของนายกฯ
                  โดยไม่ย่อท้อทำให้ชุมชนเห็นผลที่ชุมชนจะได้รับจากนโยบาย การนำโดยการปฏิบัติจึงประสบ

                  ผลสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ผู้อำนวยการสำนักปลัดกล่าวว่า “นายกมักจะแสดงความเป็น
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   นายกฯมีการลองผิดลองถูกเสมอ ยกตัวอย่างเช่น การจัดการเรื่องจราจรในเขตเมือง นายกฯ
                  ผู้นำโดยการปฏิบัติตัวให้ดูเป็นตัวอย่าง ในด้านการนำส่วนของการบริหารองค์กรก็เช่นกัน



                  เคยเสนอให้เดินรถทางเดียว ในระยะแรกมีปัญหาและข้อร้อง ก็หยุดไป แต่ยังเอาเรื่องนี้มาคุย
                  กันใหม่เพื่อหาทางในการแก้ไขปัญหารถติดในเขตเมือง มีการทดลองแนวทางใหม่ ๆ ในการ

                  บริหารงาน”

                          การนำในเชิงการปฏิบัติของนายกเทศมนตรีมิได้เพียงการนำในการปฏิบัติงานในองค์กร

                  เท่านั้น แต่การบริหารงานให้องค์กรมีสมรรถนะ ตัวนายกฯ เองต้องนำในเรื่องการแสวงหาความรู้
                  ใหม่ ๆ พัฒนาศักยภาพตัวเองด้วย ผู้อำนวยการสำนักปลัดกล่าวว่า “นายกฯมีการเรียนหนังสือ

                  ตลอดปี มีเพื่อนเยอะ มีความกระฉับกระเฉงมากพร้อมจะทำงานตลอดเวลา มีการลงมือและ
                  แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว” นอกจากนี้นายกเทศมนตรียังเปิดโอกาสให้พนักงานเทศบาลไปดูงาน




                1     สถาบันพระปกเกล้า
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172