Page 171 - kpi21193
P. 171
การพัฒนานวัตกรรมต้องอาศัยทั้งคนที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ มีความรู้ มีวิธีคิด และ
งบประมาณในการขับเคลื่อน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลอยู่ใกล้ชิดกับเมือง
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
และมีงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง/สิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการต่อ เนื่องจาก
เทศบาลเมืองลำพูนดำเนินการเรื่องการพัฒนาเมืองเก่ามาอย่างต่อเนื่องเกือบ 10 ปี เห็นว่า
ควรถอดบทเรียนร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมืองลำพูนทั้งประเด็นที่ดำเนินการสำเร็จและ
ไม่สำเร็จตลอดจนปัญหาอุปสรรค และนำบทเรียนถ่ายทอดหรือเรียนรู้ร่วมกันกับเมืองเก่าอื่น ๆ อีก
9 เมือง เพื่อวางแผนร่วมกันกับหน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองเก่า เช่น คณะกรรมการ
อนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
การศึกษาครั้งนี้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีส่วนในความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม เทศบาลเมืองลำพูนมีพื้นที่ความรับผิดชอบเพียง
6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไม่มากเกินไปสำหรับการพัฒนาทางกายภาพและการปรับปรุงภูมิทัศน์
อาจจะทำให้กิจกรรมการพัฒนาเชิงสังคมและวัฒนธรรมเห็นผลสำเร็จได้เร็วกว่าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่รับผิดชอบมาก และปัญหาอื่นของเมืองอาจจะไม่มากนัก เทศบาลระดับ
เทศบาลเมืองจึงสามารถเน้นความสำคัญเรื่องนวัตกรรมเมืองเก่าได้มากขึ้น
การศึกษาครั้งนี้มุ่งไปที่การพิจารณาปัจจัยภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า
ความสำเร็จของนวัตกรรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในองค์กรเพียง
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา (Public Policy) ที่เอื้อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้สำเร็จ (เช่น นโยบาย
องค์ประกอบเดียว แต่ขาดการมองปัจจัยภายนอกองค์กรไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายรัฐบาล
การท่องเที่ยว) หรือเป็นนโยบายที่บังคับโดยนัยตามประกาศให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องดำเนินการ (เช่น การประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า) ตลอดจนขาดการมองศักยภาพของ
องค์ประกอบอื่นในพื้นที่รับผิดชอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เช่น สถาบันการศึกษา
ความเข้มแข็งของชุมชน วัด ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ
1 2 สถาบันพระปกเกล้า