Page 166 - kpi21193
P. 166
ได้ง่าย ในช่วงแรกก็ถูกต่อต้าน ซึ่งเทศบาลก็ยอมรับฟัง แต่ทำไปสักระยะหนึ่งประชาชนเห็นว่า
เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับเขา ก็กลับมาชื่นชมกับเทศบาลฯว่าเป็นการจัดระเบียบที่ดีมาก”
ฉะนั้น นายกฯจึงเห็นว่าหากนโยบายหรือบริการสาธารณะที่เทศบาลฯดำเนินการ หากเห็นว่า
จะเป็นประโยชน์กับประชาชนให้ดำเนินการ และให้อดทนฟังในระยะแรกแม้ชาวบ้านไม่เห็นด้วย
ก็ตามในระยะแรก ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
จนกระทั่งปัจจุบันนายกฯ มีแนวคิดที่ว่า การอนุรักษ์เมืองเก่านอกจากจะตอบโจทย์เรื่อง
การท่องเที่ยวแล้วต้องทำให้คนในชุมชนมีรายได้ด้วย “การอนุรักษ์ต้องกินได้” จึงเป็นแนวคิด
ที่เป็นโจทย์ให้ผู้บริหารเทศบาลฯ นำไปคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้กิจกรรมการอนุรักษ์เมืองเก่า “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
เป็นการอนุรักษ์ที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนด้วย ซึ่งปัจจุบันเทศบาลฯทำอยู่ 3 เรื่อง
คือ กิจกรรมทำโคม กิจกรรมการทำตุงค่าคิง และการทำเทียนสะเดาะเคราะห์ ลดเคราะห์
ทั้งสามกิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จมาก ปีที่ผ่านมาชุมชนสามารถทำโคมขายให้กับวัด (นำไปให้
นักท่องเที่ยวบูชาต่อ) กว่า 35,000 ใบ ราคาใบละ 40 บาท สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
ล้านกว่าบาท (ผู้อำนวยการกองสวัสดิการ, สัมภาษณ์: 9 เมษายน 2562) ซึ่งสอดคล้องกับ
การสัมภาษณ์หัวหน้าสำนักงานปลัดในประเด็นการทำให้การอนุรักษ์กินได้ หัวหน้าสำนักงานปลัด
กล่าวว่า “เมื่อเราทำเรื่องนี้เสร็จแล้วชาวบ้านจะได้อะไร การอนุรักษ์เมืองเก่าต้องช่วยฟื้นฟู
เศรษฐกิจให้คนในเมืองด้วย ให้นำสถิติมาดูกันเพื่อยืนยันว่าเศรษฐกิจดีขึ้น สถิติจำนวน
นักท่องเที่ยว จำนวนแม่ค้าในตลาด สถิติอุบัติเหตุจราจร รายได้ของรถท่องเที่ยวมาดูกัน และ
สถิติคนเข้าพิพิธภัณฑ์”
รูปภาพแสดงการทำกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
สถาบันพระปกเกล้า 1