Page 165 - kpi21193
P. 165

แนวคิดต่อเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าของนายกฯ ไม่เคยหยุดนิ่ง เกิดขึ้นตั้งแต่ลำพูน
                  ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่เมืองเก่า ในปี พ.ศ. 2554 ลำพูนจึงเป็น 1 ใน 10 เมืองเก่าที่ต้องพัฒนา
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  ตามแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่าลำพูนต้องทำใน 3 ด้าน คือ
                  ด้านการพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการเมืองเก่าแบบบูรณาการ ด้านการฟื้นฟู ดูแล
                  รักษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิทัศน์เมืองเก่า และด้านส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และ

                  เสริมสร้างความเข้าใจ ถึงประโยชน์ของเมืองเก่า และรักษาเมืองเก่าให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน
                  จนกระทั่งปัจจุบันกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เมืองเก่ายังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                  แนวคิดในการนำเรื่องเมืองเก่า นายกฯ อาศัยแนวคิดเรื่องเมืองแฝด (เชียงใหม่-ลำพูน) แนวคิด
                  เรื่องภูมิสังคม แนวคิดประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่น แนวคิดของตระกูลเก่าในพื้นที่ และอ้างอิงงาน
                  วิจัย เพื่อหลอมความเข้าใจกับทุกฝ่ายและนำมากำหนดเป็นแผนในการพัฒนาเมืองเก่า นายกฯ

                  อธิบายเพิ่มเติมว่า “เทศบาลมีการศึกษาดูงานหาความรู้ประสบการณ์ทั้งในและนอกประเทศ
                  อันไหนดีก็ก็อปปี้มาเลย เราก็อปปี้มาหมด ถ้าใครเอาของเราไปก็เอาไปเลย เรื่องของเมืองเก่า

                  เคยไปอยู่เยอรมันเดือนหนึ่ง สิงคโปร์เคยไปอบรมเรื่องระบบน้ำเสีย การวางผังเมือง เรื่อง
                  สิ่งแวดล้อม ส่วนเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่า เทคโนโลยีไปดูที่ญี่ปุ่น เราเห็นว่าอะไรดีก็เอามา”
                  ทำให้เทศบาลเมืองลำพูนพัฒนาเขตพื้นที่เมืองเก่าถูกคิดอย่างมีระบบ


                          กิจกรรมระยะแรก เป็นการสร้างกลไกการดำเนินงานในองค์กร และเชื่อมโยงภาคส่วน
                  ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กิจกรรมต่อมา เป็นกิจกรรมในการสร้างจิตสำนัก “การสร้างกิจกรรมเพื่อ

                  กระตุ้นจิตวิญญาณในการรักเมืองเก่าบ้านเก่า” กลุ่มแรกที่นายกฯ เห็นว่าเป็นกำลังสำคัญในการ
                  ขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์เมืองเก่า คือ พนักงานของเทศบาล ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ

                  เรื่องนี้ ได้แก่ ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสำนักปลัด และหัวหน้างานในกองการศึกษา ฯลฯ
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   นักเรียนในโรงเรียน กิจกรรมกระตุ้นจิตวิญญาณดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาทางกายภาพ
                  อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมการกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์เมืองเก่า คือ


                  โดยเฉพาะการปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเมืองเก่า การอนุรักษ์ บูรณะอาคารบ้านเก่า นายก
                  ให้นโยบายว่า “หากเราจะอนุรักษ์บ้านเก่า เราต้องทำให้เจ้าของบ้านเข้าร่วมกับเราด้วย ทำให้

                  เจ้าของบ้านยอมเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ มีส่วนร่วมในการดูแลบ้านเก่าของตนเองด้วย”
                  จึงมอบนโยบายให้ปลัดเทศบาลดำเนินการเชิงรุกลงไปที่บ้านเก่าที่ต้องการอนุรักษ์ ขอเช่าบ้านเก่า
                  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาสถาปัตยกรรมและเรียนรู้ภูมิปัญญา

                  การดำเนินงานในเชิงรุกในระยะแรกแม้จะได้รับการต่อต้านจากเจ้าของบ้านแต่หากเป้าหมาย
                  ของนายกฯ มีความชัดเจน ทำให้ประชาชนเห็นว่าการอนุรักษ์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน

                  เป็นหลัก ไม่นานนายกฯก็ได้รับความร่วมมือจากประชาชน ซึ่งผู้อำนวยการสำนักปลัดเทศบาล
                  กล่าวว่า “แม้แต่เรื่องการจัดระเบียบร้านค้าริมถนนเพื่อให้เป็นระเบียบ ลูกค้าจอดรถซื้อสินค้า




                1     สถาบันพระปกเกล้า
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170