Page 163 - kpi21193
P. 163

ตัวผู้บังคับบัญชา: วิถีปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาในการให้ความเคารพต่อการตัดสินใจของ
                           ผู้ใต้บังคับบัญชา (ร้อยละ 85.33) ในประเด็นนี้เห็นได้ชัดเจนมาจากการสัมภาษณ์
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                           ผู้บริหารระดับกลางกล่าวถึงตัวนายกเทศมนตรีไว้ว่า นายกฯ ไว้ใจให้ผู้บริหารระดับ
                           กลางไปดำเนินการ โดยเฉพาะในเรื่องเมืองเก่า นายกฯจะมอบหมายให้ปลัดฯ
                           รับนโยบายไปดำเนินการและให้อิสระในการดำเนินงาน


                         -  ด้านวิถีแห่งการดำเนินงาน ตัวชี้วัดที่สูงสุด คือ การสร้างมาตรฐานของกิจกรรม:
                           วิธีปฏิบัติในการควบคุมคุณภาพการดำเนินกิจกรรมขององค์กร (ร้อยละ 96.33)

                           การกำหนดขอบเขตภารกิจ: วิธีปฏิบัติในการกำหนดลักษณะงาน (Job Description)
                           ให้แก่บุคลากร (ร้อยละ 96.33) การสร้างหุ้นส่วนระยะยาว: วิธีปฏิบัติในการประสาน

                           ความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ (ร้อยละ 92.66)

                         -  ด้านวิถีแห่งการเติบโต ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง (ร้อยละ 92.66)

                           การจัดการเอกสาร การเรียนรู้จากประสบการณ์ การประเมินที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน
                           การสร้างเครือข่าย การให้คุณค่าแก่ประสบการณ์ภาคสนาม และการแบ่งปันความรู้
                           (ร้อยละ 89.00) ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์นายกเทศมนตรี ซึ่งกล่าวว่า เมื่อ

                           ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการมอบหมายภารกิจแล้วให้รีบดำเนินการ และรวมถึง
                           ข้อเรียกร้อง-ข้อร้องเรียนจากประชาชนให้รีบรับข้อมูลมาก่อน

                        อย่างไรก็ตาม สมรรถนะองค์กรของเทศบาลเมืองลำพูน ยังขึ้นอยู่กับ ตัวแปรวัฒนธรรม

                  องค์กรด้าน Functionalization อยู่ในระดับ 3.02 แปลความว่าเป็นระดับ Too High และ
                  ด้าน Communalization อยู่ในระดับ 2.51 แปลความว่าเป็นระดับ High ซึ่งตามแนวคิดเรื่อง

                  Developing Public Organizations by Assessing Capacity อธิบายว่า เป็นองค์กรที่มี
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   ความยืดหยุ่นน้อย มีกฎระเบียบสูง คล้ายองค์กรทหาร อย่างไรก็ตาม มิติวัฒนธรรมองค์กร เป็นมิติ

                  ที่มีสมรรถนะภาพรวมต่ำกว่าด้านอื่น ๆ คือเท่ากับ 2.77 หรือร้อยละ 58.63 โดยเฉพาะด้าน

                  Communalization ประเด็นวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิสระและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ๆ
                  แต่ประเด็นวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของมีค่อนข้างสูง ร้อยละ 80.67 ซึ่งเท่ากับ

                  ประเด็นวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญพิเศษ
                  ด้าน Functionalization


                        ตัวชี้วัดที่โดดเด่นของตัวแปรวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับระบบเอกสารและ
                  การสร้างระบบงานที่เป็นทางการ (ร้อยละ 96.33) ทัศนคติต่อการสร้างความรู้และทัศนคติต่อ
                  การคิดหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ (ร้อยละ 92.67) ทัศนคติต่อสายสัมพันธ์ในองค์กร ทัศนคติต่อ

                  การปรับปรุงตนเอง และ การจัดการปัญหาวิกฤติอย่างสมบูรณ์แบบ (ร้อยละ 96.33)



                1     สถาบันพระปกเกล้า
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168