Page 170 - kpi21193
P. 170

กลาง (ปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการ) ที่มีศักยภาพด้วยก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรม
                      ได้สำเร็จ


                            บทเรียนที่ 2 การศึกษาสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านโครงการ/กิจกรรม
                      ที่เป็นการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของเทศบาลเมืองลำพูน ด้านการอนุรักษ์เมืองเก่า พบว่า

                      การอนุรักษ์เมืองเก่าไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้นๆ แล้วเห็นผลชัดเจนหรือทำให้ประชาชน
                      เห็นว่าเป็นประโยชน์กับประชาชนชัดเจน แต่เป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยระยะเวลา
                      ยาวนาน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนต้องอาศัยความอดทนกับผลที่เกิดขึ้นในระยะแรก

                      ทั้งข้อร้องเรียนจากประชาชน การไม่ได้รับความร่วมมือ และการใช้จ่ายงบประมาณที่สูงและ      “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      ต่อเนื่อง ฯลฯ เทศบาลเมืองลำพูนใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการพัฒนาเมืองเก่าแต่ผู้นำมีความเข้าใจ

                      เรื่องข้อจำกัด จึงมีความอดทนและยังยืนหยัดที่จะทำอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามรดกวัฒนธรรม
                      อันล้ำค่าของเมือง


                            บทเรียนที่ 3 การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมเขตพื้นที่เมืองเก่า จำเป็นต้องมีข้อมูล
                      เรื่องเมืองเก่า และแนวทางการพัฒนาต้องพร้อมอยู่เสมอ พร้อมที่จะใช้ในการอธิบายและนำเสนอ
                      เพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีโอกาสนำเสนอแนวคิดให้ใช้โอกาสนั้น

                      ในการนำเสนอ ซึ่งผู้ที่จะนำเสนอต้องเรียนรู้หาประสบการณ์จากตัวอย่างที่ดีทั้งในและต่างประเทศ
                      เพื่อมาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง

                            บทเรียนที่ 4 การพัฒนาเมืองเก่าจำเป็นต้องคิดเป็นระบบ โดยเริ่มจากค้นหาหรือเล็งเห็น

                      มรดกที่มีคุณค่าของเมืองทั้งในเชิงประวัติศาสตร์  คุณค่าทางวัฒนธรรม คุณค่าเชิงการพัฒนาสังคม
                      และคุณค่าทางเศรษฐกิจ และทำให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของเมืองเล็งเห็นคุณค่านั้นเพื่อสร้างการมี

                      ส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                      เป็นแกนนำ นำทั้งเชิงแนวคิดและการปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นหน่วยงานกลาง
                      ในการดำเนินการปรับปรุงทางกายภาพให้สอดคล้องกับแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม ซึ่งต้องได้รับ    ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                      ความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ กลุ่มคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น
                      สายตระกูล ศิลปิน พ่อค้าแม่ค้า เยาวชน ประชาชน ฯลฯ และเป้าหมายของการพัฒนาเมืองเก่า

                      ต้องชัดเจน เทศบาลเมืองลำพูนตั้งเป้าหมายชัดเจนว่า ประชาชนต้องมีความสุข มีรายได้ และมี
                      คุณภาพชีวิตที่ดีในการอาศัยอยู่ในเมือง


                            บทเรียนที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งในข้างต้น
                      ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรนำ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และศักยภาพของคนนำใน
                      องค์กรทั้งวิธีคิดและความรู้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีงบประมาณ เนื่องจาก






                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175