Page 154 - kpi21193
P. 154

นวัตกรรมการอนุรักษ์เมืองเก่าให้คงอยู่และทรงคุณค่า


                            การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในประเทศไทย เริ่มต้นในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
                      ซึ่งสามารถดำเนินการสัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม และได้ขยายการดำเนินงานไปยังพื้นที่เมืองเก่า

                      อื่นๆ คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดยความเห็นชอบของ
                      คณะรัฐมนตรี ได้กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า 10 เมือง ประกาศเป็นเมืองเก่ากลุ่มที่ 1 ได้แก่
                      เชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร พิษณุโลก ลพบุรี พิมาย นครศรีธรรมราช และสงขลา เมื่อวันที่

                      9 พฤศจิกายน 2553, เมืองลำพูน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 และ เมืองน่าน เมื่อวันที่
                      1 พฤษภาคม 2555 เหตุผลคือ เป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี        “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                      มีขนาดใหญ่ ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักรในยุคใดยุคหนึ่ง มีหลักฐานของงานศิลปกรรม
                      ที่มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรนั้นๆ ในอดีต และในปัจจุบันมีการ
                      อยู่อาศัยของชุมชนใหม่ซ้อนทับชุมชนเดิม ทำให้ต้องเร่งประกาศความสำคัญของการเป็นเมืองเก่า

                      ให้ชัดเจนเพื่อการดำเนินการทางด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ที่เหมาะสมต่อไป จากการที่ลำพูน
                      เป็น 1 ใน 10 เมืองเก่า การพัฒนาที่สำคัญตามแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า

                      ลำพูน เน้นการพัฒนาเมืองใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนากลไกและกระบวนการบริหารจัดการ
                      เมืองเก่าแบบบูรณาการ ด้านการฟื้นฟู ดูแล รักษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิทัศน์เมืองเก่า
                      และด้านส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจ ถึงประโยชน์ของเมืองเก่า และ

                      รักษาเมืองเก่าให้เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน

                            เพื่อให้การพัฒนาเมืองเก่าปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ตามแผนที่ได้วางไว้

                      คณะผู้บริหารของเทศบาลเมืองลำพูนจึงได้มุ่งเน้นปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ จัดระเบียบในเขต
                      เมืองเก่า บริเวณย่านสำคัญทางประวัติศาสตร์อันเป็นการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

                      เชิงอนุรักษ์ให้เชื่อมโยงในพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมือง และเป็นการเปิดมุมมองใหม่ของ
                      เมือง ให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชมในจังหวัดมากขึ้น รวมทั้ง
                      เป็นการปลุกจิตสำนึกรักท้องถิ่น และสร้างความภาคภูมิใจให้ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตาม  ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                      นโยบายของรัฐบาล

                            การดำเนินงานเรื่องการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเขตเมืองเก่าลำพูน เทศบาลเมืองลำพูน

                      มองว่าเป็น “นวัตกรรมแนวคิด” ที่โดดเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยพื้นที่รับผิดชอบ
                      ของเทศบาลเมืองลำพูนร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งประวัติศาสตร์ พื้นที่เมืองเก่า
                      บ้านเก่า และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่ยังทรงคุณค่าต่อสังคมลำพูน สังคมไทย มีเพียงองค์กรปกครอง

                      ส่วนท้องถิ่นในประเทศไม่มากนักที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เมืองเก่าและทำอย่างจริงจัง
                      ต่อเนื่องมากว่า 8 ปี




                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159