Page 155 - kpi21193
P. 155

ปัจจุบันลำพูนเป็น “เมืองเก่าที่มีชีวิต” มีการอยู่อาศัยของชุมชนใหม่ซ้อนทับชุมชนเดิม
                  และยังมีองค์ประกอบสำคัญของความเป็นเมืองเก่าหรือเมืองประวัติศาสตร์ที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  ถึงการเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ คูเมือง กำแพงเมือง โบราณสถานศิลปะลวดลายที่สลักลง
                  บนแท่นปูนปั้น และงานแกะสลักในวัด คุ้มเจ้าเมือง บ้านเก่า ต้นไม้ใหญ่พื้นถิ่น ที่อยู่คู่กับเมืองเก่า
                  (เทศบาลเมืองลำพูน, 2559)


                        ลักษณะของผังเมืองเก่าลำพูนจากการมองในมุมกว้างเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินเป็นปราการ
                  ชั้นแรก ก่อนจะมาถึงกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นรูปหอยสังข์ ซึ่งเป็นลักษณะผังเมืองแบบโบราณ

                  วางตัวในแนวทิศเหนือ ทิศใต้ บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
                  ประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นหลายแห่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่

                  ใจกลางเมืองลำพูน อาทิ วัดพระธาตุหริภุญชัย อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี อาคารศาลากลาง
                  จังหวัดลำพูน คุ้มเจ้าหลวง (เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10) และบ้านเก่า
                  อีกหลายหลังที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม

                  จากศักยภาพของพื้นที่ในเขตเมืองลำพูนที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา
                  ศิลปวัฒนธรรม ได้ จังหวัดลำพูนจึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์

                  การท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐาน
                  การท่องเที่ยวเมืองลำพูน ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนา เสริมสร้าง
                  อัตลักษณ์ ส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม ล้านนาน่าเที่ยว น่ามอง

                  ดำเนินโครงการตามแผนเมืองแฝดเชียงใหม่– ลำพูน แผนปฏิบัติการอนุรักษ์เมืองเก่าและ
                  แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าลำพูน ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

                  เห็นชอบและได้ประกาศให้ลำพูนเป็นเมืองเก่า เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2554 โดยให้มีการอนุรักษ์
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   ให้ผู้คนได้มาศึกษาและเยี่ยมชม (เทศบาลเมืองลำพูน,2559)
                  อาคารดั้งเดิมและพัฒนาพื้นที่ พร้อมปรับสภาพภูมิทัศน์บริเวณเมืองเก่า เพื่อดึงดูดความสนใจ



                        จากการเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เมืองพุทธศาสนา ที่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็น
                  เอกลักษณ์ที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ร่องรอยของการสร้างบ้านเมืองในสมัยก่อนยังคง

                  หลงเหลืออยู่ในเขตเมืองชั้นในและได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำพูนในวันนี้ แต่เวลา
                  ที่ผ่านไป ทำให้เมืองลำพูนมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและ

                  วิถีชีวิต ซึ่งอาจมีผลทำให้เขตเมืองเก่าลำพูนสูญเสียลักษณะอันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองลำพูนไป
                  เทศบาลเมืองลำพูนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เมืองเก่า จึงได้ผลักดันให้มี
                  การดำเนินโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน เพื่อให้เกิด

                  กระบวนการพัฒนาแบบยั่งยืน นำไปสู่การบูรณาการผลลัพธ์ของโครงการในพื้นที่ มีการประยุกต์





                1     สถาบันพระปกเกล้า
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160