Page 298 - kpi21190
P. 298
298
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้โรงเรียนของ
เทศบาลนครเชียงรายมีผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนกับโรงเรียนเทศบาลของเทศบาล
นครเชียงรายเป็นจำนวนมากไม่แพ้โรงเรียนประจำจังหวัดของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
กล่าวได้ว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษานับเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนใน
พื้นที่ได้เองบ้างแทนการบริหารแบบรวมศูนย์อย่างที่เป็นอยู่
คำถามก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับช่วงเวลาที่ผ่านมาเกือบสามศตวรรษจนทำให้เกิด
ความเหลื่อมล้ำมากเพียงนี้ คำตอบในเรื่องนี้มีหลายประการที่อธิบายคำถามข้างต้น แต่คำตอบ
หนึ่งที่ผู้เขียนมีความเห็นสอดคล้องกับ Abigail McKnight แห่ง London School of
Economics ที่กล่าวว่า อุปสรรคสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำก็คือ การขาด
เจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ของรัฐบาลในการเข้ามาบริหารประเทศ (Abigail
McKnight, 2018) ส่งผลให้นโยบายที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่เป็นจริงในทาง
ปฏิบัติ เช่น การออกกฎหมายภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก เป็นต้น ซึ่งกฎหมายเหล่านี้จะมีส่วน
ช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ แต่ในทางปฏิบัติ กฎหมายภาษีมรดก กลับมี
การยกเว้นที่ไปเอื้อต่อกลุ่มคนร่ำรวยหรือมีฐานะดีในสังคมมากกว่าคนส่วนใหญ่ของสังคม
ดังนั้นต้องลดการยกเว้นภาษีลงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินในระยะยาว (ดวงมณี
เลาวกุล, 2561)
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น : เจตจำนงทางการเมืองหรือเพียง
วาทกรรมทางการเมือง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นหรือการกระจายอำนาจทางการเมือง
(Political Decentralization) เป็นการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชนใน
ท้องถิ่น ในทิศทางที่ทำให้ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ทรัพยากรการบริหาร
(รายได้ งบประมาณ) และอำนาจการตัดสินใจไปอยู่ใกล้กับประชาชนมากที่สุดเพื่อให้เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การกระจายอำนาจทางการเมือง
เป็นการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจในกิจการที่ใกล้ชิดกับประชาชนไปให้แก่ประชาชนใน
ท้องถิ่นผ่านทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่น โดยมีการจัดสรรรายได้ให้อย่าง
เหมาะสมเพียงพอ
แต่ทั้งนี้ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นจำเป็นต้อง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 เป็นการกระจายอำนาจที่ดี ได้แก่
ข้อแรก เป็นการกระจายอำนาจที่มีเจตจำนงชัดเจนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
และประชาชนในท้องถิ่นได้สามารถตัดสินใจตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และ
สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว