Page 301 - kpi21190
P. 301
301
ของหน่วยงานส่วนกลางไปตั้งอยู่ในภูมิภาคมากขึ้นโดยไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ
ผู้ว่าราชการจังหวัด (ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย) และเมื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการ
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ถูกกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติกำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จะพบว่า
สิ่งที่ส่วนราชการในส่วนกลางถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเพียง
กิจกรรมย่อย ๆ มากกว่าเป็นภารกิจสำคัญ
แต่สำหรับภารกิจสำคัญ ได้แก่ การศึกษา การสาธารณสุข ที่มีการระบุให้มีการถ่ายโอน
กลับปรากฏว่า มีอุปสรรคมากในการถ่ายโอนสถานศึกษาและสถานีอนามัยไปให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นและได้รับการคัดค้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ กลุ่มองค์กรครูต่าง ๆ
ในประเด็นหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ ความไม่พร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการบริหารจัดการศึกษา ความไม่เป็นเอกภาพและความไม่มีประสิทธิภาพของระบบ
การศึกษา และความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงานของข้าราชการครูที่จะได้รับ
ผลกระทบ (สุรพล นิติไกรพจน์, 2546, น. 26) ตลอดจนมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการ
ถ่ายโอนสถานศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเจริญและความพร้อมสูง และ
นอกจากกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง ซึ่งรวมกัน 100 แห่งแล้ว
จะไม่มีการโอนไปให้เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล และโรงเรียนที่อยู่ในข่าย
ถ่ายโอนต้องไม่อยู่ในโรงเรียน 9 ประเภท ที่ห้ามถ่ายโอน เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่
สถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นต้น และตั้งแต่ ปี 2549 - 2557 มีการถ่ายโอน
สถานศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 485 แห่ง จากจำนวนโรงเรียนสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 30,922 แห่ง (ข้อมูล ปี 2557) คิดเป็นร้อยละ
1.57 สำหรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย (ซึ่งภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต) ก็เป็นไปอย่างล่าช้าเช่นกัน โดยมีสถานีอนามัยหรือ
รพ.สต.ถ่ายโอนไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2559 จำนวน
51 แห่ง จากทั้งหมด 9.787 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.52 เท่านั้น
ประการที่สี่ นโยบายและแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยังขาดเป้าหมายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในสังคม
ทำให้การดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ไม่ให้
ความสำคัญกับมิติความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาสำคัญมากของสังคมไทย ในขณะที่รัฐบาลมักมี
นโยบายที่มุ่งเน้นการสงเคราะห์ซึ่งเป็นการหวังผลระยะสั้นมากกว่าที่จะสร้างความสามารถของ
ประชาชนและชุมชนในการพึ่งตนเองในระยะยาว ส่งผลให้ส่วนราชการต่างๆ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทมีนโยบายและแผนงาน โครงการที่มุ่งเน้น
การสงเคราะห์ประชาชนมากกว่าการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันใน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ท้องถิ่นโดยการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเอง