Page 297 - kpi21190
P. 297

297



                  13,157 คน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,231 โรงเรียน หรือร้อยละ 48 มีนักเรียน

                  469,416 คน และมีครู 48,490 คน และยังพบว่า มีโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีนักเรียนแต่ยังไม่
                  สามารถยุบเลิกได้ จำนวนทั้งสิ้น 305 โรงเรียน แบ่งเป็น ภาคเหนือ 169 โรงเรียน ภาคกลาง
                  24 โรงเรียน ภาคใต้ 25 โรงเรียน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 87 โรงเรียน (ไทยโพสต์,
                  2562)


                       จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้นนี้ทำให้ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายควบรวม หรือ
                  ยุบโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้โดยยกเหตุผลด้านความคุ้มค่าของงบประมาณและมาตรฐาน
                  การศึกษาที่ดีขึ้นโดยไม่ให้ความสำคัญกับแนวทางการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นฐานนี้ ประกอบกับเมื่อศึกษา

                  รายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาเรื่อง
                  การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ยังพบว่า ข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ชุดนี้
                  ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นการ กระจายอำนาจทางการศึกษาให้องค์กรปกครอง
                  ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเลยเช่นกัน สะท้อนให้เห็นการขาดเจตจำนงทางการเมืองการบริหารของ

                  ผู้บริหารในรัฐบาลและกระทรวงในส่วนกลางรวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องในการกระจายอำนาจ
                  ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนอย่างชัดเจน (คณะกรรมาธิการการขับเคลื่อน
                  การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, 2559)

                       ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับว่า มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในชนบทมีความด้อยกว่า

                  ในเมืองในภาพรวม ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมโรงเรียนที่อยู่ชายขอบหรือเขตชายแดนที่ห่างไกลที่มี
                  สถานการณ์ที่แย่กว่าอีกมาก ส่งผลกระทบต่อเด็กที่เข้ารับการศึกษาจากสถานศึกษาเหล่านี้
                  โดยเด็กส่วนหนึ่งที่ครอบครัวพอมีฐานะทางเศรษฐกิจดีก็จะส่งบุตรหลานไปเรียนในเมือง แต่เด็ก

                  ที่ครอบครัวมีฐานะยากจนไม่มีทางเลือกก็ต้องศึกษาในสถานศึกษาที่ขาดความพร้อมเหล่านี้
                  นับเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อเด็กที่เป็นอนาคตของชาติเหล่านี้ และ
                  สถานการณ์เช่นนี้มิใช่เพิ่งเกิดแต่เป็นมานานแล้วทั้งๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับ
                  จัดสรรงบประมาณมากที่สุดในแต่ละปี


                       การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นระหว่างเมืองกับชนบทจึงต้องมี
                  กรอบคิดใหม่ที่ให้ภาคส่วนต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและรับโอนสถานศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการ
                  การศึกษาขั้นพื้นฐานไปบริหารจัดการก็สามารถทำให้โรงเรียนมีมาตรฐานตามที่กระทรวง
                  ศึกษาธิการกำหนดหรือมีมาตรฐานสูงกว่าได้ เนื่องจากมีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการ

                  ในการจัดจ้างบุคลากรทางการศึกษา จัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาอย่างเพียงพอ และบางแห่ง
                  จัดให้มีห้องเรียนภาษาต่างประเทศหลายภาษา รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโรงเรียน
                  ของตนเองและพัฒนาโรงเรียนให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศอาทิ โรงเรียนของ             การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5

                  เทศบาลนครเชียงราย ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302