Page 292 - kpi21190
P. 292
292
และมีรายได้ที่เพียงพอแตกต่างกันด้วย เช่นเดียวกับความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้น
ระหว่างครอบครัวที่ยากจนกับครอบครัวที่ร่ำรวย และระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบท
อันเป็นความเหลื่อมล้ำในการได้รับบริการสาธารณสุขที่แตกต่างกันทั้งในเชิงคุณภาพและ
ปริมาณ รวมถึงโอกาสที่แตกต่างกันในการได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน
ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองเป็นอีกความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น แม้แต่ในประเทศที่มีระบอบ
ประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็ตาม ความเหลื่อมล้ำ
ทางการเมืองเกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ และเป็นความเหลื่อมล้ำที่มีผลต่อจิตใจมาก
ดังจะเห็นได้ว่า ประชาชนในสังคมไทยได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายที่แตกต่างกันเพราะไป
เกี่ยวข้องกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมด้วย โดยคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและหรือ
มีสถานภาพทางสังคมสูงมีโอกาสรอดพ้นจากการกระทำผิดกฎหมายได้ง่ายกว่าคนที่มีฐานะทาง
เศรษฐกิจต่ำหรือมีสถานภาพทางสังคมต่ำ อาทิ คนที่หาเช้ากินคำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น หรือ
กรณีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่มในช่วง พ.ศ. 2552 - 2557 ที่มี
ความเห็นหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันและส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำ
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โดยได้รับการปฏิบัติที่ไม่เสมอภาค เป็นธรรมทั่วหน้ากัน
เพื่อให้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชัดเจนขึ้น ผู้เขียนได้นำเสนอปัญหา
ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ของเมืองและชนบทของสังคมไทยดังนี้ (ปธาน
สุวรรณมงคล, 2562)
ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในเมือง
เมื่อพิจารณาความเป็นเมืองของโลกสามารถกล่าวได้ว่า ขณะนี้ประชากรของโลกกว่าครึ่ง
อาศัยอยู่ในเมืองมาหลายปีแล้วและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมืองจึงนับเป็นแหล่งชุมชนที่มี
ประชาชนอยู่เป็นจำนวนมากและหนาแน่น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายก่อให้เกิด
ความเป็นเมืองเกิดขึ้น สำหรับประเทศไทย ความเป็นเมืองก็มีมากขึ้นเห็นได้ชัดว่า ค่อย ๆ
เปลี่ยนไปจากในอดีตที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเป็นเมือง
มากที่สุดจนถูกเรียกว่า เอกะนคร (Primate City) และในระยะหลังได้ขยายขอบเขตความเป็น
เมืองครอบคลุมอีกหลายจังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร
สมุทรปราการ นครปฐม มีประชากรอาศัยรวมกันประมาณ 10 ล้านคนเศษ รวมถึงยังเกิด
เมืองขึ้นมาอีกหลายเมือง เช่น ขอนแก่น ภูเก็ต พัทยา เป็นต้น แต่ก็นับว่า ยังมีขนาดที่ห่าง
จากกรุงเทพมหานครมากนัก สิ่งนี้สะท้อนถึงความไม่จริงใจและความล้มเหลวเชิงนโยบาย
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 การกระจายความเจริญของรัฐบาลที่ผ่านมานับแต่เร่งรัดพัฒนาประเทศตั้งแต่ปี 2504 เพราะ
ในความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นกลายเป็นนโยบายที่ส่งเสริมการกระจุกตัวของความเจริญ
ไว้ที่ศูนย์กลางคือ กรุงเทพมหานคร อาทิ การทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านในการพัฒนา
โครงสร้างการขนส่งในเมือง บริการสาธารณสุขและการศึกษาที่มีมาตรฐานสูง ภาคธุรกิจ