Page 295 - kpi21190
P. 295

295



                       คนอีกกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในเมืองคือ คนด้อยโอกาส คนด้อยโอกาส

                  เหล่านี้ได้แก่ เด็กที่ต้องย้ายตามพ่อแม่ที่ทำงานรับจ้างตามสถานที่ต่าง ๆ และไม่มีที่อยู่เป็น
                  หลักแหล่งทำให้ไม่ได้รับการศึกษาที่เพียงพอ เด็กไร้บ้าน เนื่องจากปัญหาครอบครัวและหนีออก
                  จากบ้านมาใช้ ชีวิตอยู่ตามใต้สะพานหรือริมถนน คนไร้บ้าน เพราะปัญหาเศรษฐกิจ/ปัญหา
                  ครอบครัว รวมถึงเด็กที่พ่อแม่ทอดทิ้ง คนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากหน่วยงาน

                  ที่ใกล้ชิดมากที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่ครอบคลุมพื้นที่เมืองของประเทศไทย
                  แแทนที่จะเป็นหน่วยงานของรัฐในส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มีขีดจำกัดในการดูแล
                  ได้ครอบคลุมพื้นที่เมือง


                  ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในชนบท

                       หลายคนอาจมองว่า ชนบทมีปัญหาความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าในเมือง แต่ในความเป็นจริง

                  แล้ว อาจมีความรุนแรงมากกว่าเมืองก็ได้ เหตุก็เพราะว่า อำนาจหรืออิทธิพลของคนในชนบท
                  ที่มีต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองการบริหารของประเทศมีน้อยกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมือง
                  ที่มีกลุ่มชนชั้นสูงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีความรู้ และเครือข่ายที่กว้างขวางไปถึงกลุ่ม
                  ชนชั้นนำทางการเมืองการบริหาร ตลอดจนในสถาบันทางการเมืองสำคัญในระบอบ

                  ประชาธิปไตย รวมถึงมีชนชั้นกลางอีกจำนวนมากที่เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะความชำนาญเฉพาะ
                  ด้านสูง ซึ่งทั้งสองกลุ่มถือได้ว่า มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและรัฐสภามาก

                       ในทางตรงกันข้าม คนในชนบทซึ่งขณะนี้ยังเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ จะมีอิทธิพล
                  ต่อชนชั้นนำทางการเมืองก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้นำท้องถิ่น

                  สมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น แต่ภายหลังการเลือกตั้ง คนในชนบทก็ตกอยู่ในสภาวะ “ผู้รับ” สิ่งที่
                  ชนชั้นนำ ทางการเมืองการบริหารหยิบยื่นให้ในรูปของนโยบาย แผนงาน โครงการต่าง ๆ
                  โดยที่คนในชนบทมีส่วนร่วมน้อยมากต่อการจัดทำนโยบายและแผนงานโครงการทั้งหลาย
                  รวมถึงการจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะในระดับพื้นที่ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  รับผิดชอบพื้นที่อยู่

                       ปัญหาที่เกิดขึ้นในชนบทที่สร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมแก่คนในชนบท อาทิ
                  ปัญหาการขาดที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ปัญหาโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ

                  ที่มีคุณภาพทัดเทียมกับคนในเมือง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐ
                  ปัญหาการบุกรุกที่ดินของกลุ่มทุน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นมานาน
                  แม้ว่ารัฐบาลในระยะหลัง ๆ จะพยายามให้มีนโยบายและแผนงานในการลดความเหลื่อมล้ำ
                  ก็ตาม โดยเฉพาะทางด้านสาธารณสุขที่ดูเหมือนว่าจะก้าวหน้ามากที่สุดในการลดความเหลื่อมล้ำ
                  ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาลนายทักษิณ

                  ชินวัตร ที่ทำให้พรรคการเมืองที่นายทักษิณฯ เป็นหัวหน้าพรรคได้รับความนิยมจากประชาชน        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                  ในชนบทอย่างมากจนถึงทุกวันนี้ เพราะมีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดที่เคยมีมาในการลด
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300