Page 299 - kpi21190
P. 299
299
ข้อที่สอง เป็นการกระจายอำนาจที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การตัดสินใจในกระบวนการกระจายอำนาจด้วยไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับประโยชน์จากการกระจาย
อำนาจเท่านั้น
ข้อสาม เป็นการกระจายอำนาจที่มีการกำกับดูแลอำนาจที่รัฐกระจายลงไปสู่ท้องถิ่น
โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อสี่ เป็นการกระจายอำนาจที่ทำให้ประชาชนในชุมชนมีบทบาทและอำนาจเพียงพอต่อ
การแก้ไขปัญหาของชุมชนและหรือตอบสนองความต้องการตามเจตนารมณ์ของประชาชนใน
ท้องถิ่นได้รวดเร็วขึ้น
ข้อห้า เป็นการกระจายอำนาจที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตื่นตัวและตื่นรู้ทางการเมือง
ในสิทธิการปกครองตนเองของประชาชน
กล่าวโดยหลักการแล้ว การกระจายอำนาจทางการเมืองสู่ท้องถิ่นมีส่วนสำคัญใน
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้แม้ไม่ทั้งหมดก็ตาม เนื่องจากการกระจายอำนาจ
ทางการเมืองทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรสำคัญของสังคมไปอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกันได้มาก
รวมถึงสามารถสร้างโอกาสให้กับกลุ่มที่ด้อยกว่าในสังคมได้มีช่องทางในการพัฒนาตนเองไปสู่
จุดที่ดีกว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาที่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการลด
ความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้เพราะเป็นการสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างไม่แตกต่างกันมาก
แม้จะไม่สามารถเท่าเทียมกัน ได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม
มองการกระจายอำนาจในสองทศวรรษที่ผ่านมา
กล่าวได้ว่า การกระจายอำนาจเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในปี
2542 หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมี
มาตรา 78 บัญญัติให้ “รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ
ท้องถิ่นได้เอง...” หลังจากนั้นได้มีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้
แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการถ่ายโอนภารกิจบางประการของรัฐในส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น อาทิ ภารกิจด้านการศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น
ในภาพรวมพบว่า การกระจายอำนาจทางการเมืองของไทยมีปัญหาสำคัญหลายประการ
ดังนี้
ประการแรก ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาล อันเนื่อง
มาจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง ดังปรากฏว่า ในช่วงปี 2542 - 2557 (ก่อน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
การรัฐประหาร ปี 2557) มีรัฐบาลถึง 8 คณะ บางรัฐบาลมีอายุเพียง 2 เดือนเศษ ส่งผล
ให้การผลักดันนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนใหญ่