Page 296 - kpi21190
P. 296
296
ความเหลื่อมล้ำ จนทำให้รัฐบาลต่อ ๆ มาต้องคงโครงการนี้ไว้และมีการปรับปรุงให้ดีมากยิ่งขึ้น
และยังพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัยเดิม) มีการปรับปรุงคุณภาพ
มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีอนามัยที่มีการถ่ายโอนมาอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจัดจ้างบุคลากรทางด้าน
สาธารณสุขเพิ่มเติมและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นได้มากขึ้น แทนที่จะต้องรอการจัดสรรจาก
กระทรวงสาธารณสุขที่ต้องใช้เวลานานมาก เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลมากกว่า 9,000 แห่ง (แต่มีการถ่ายโอนมาอยู่กับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพียงประมาณ 50 แห่งเศษเท่านั้น) ผลลัพธ์ก็คือ คนในชนบทได้รับการป้องกัน
และดูแลด้านสุขภาวะระดับปฐมภูมิดีขึ้นกว่าอดีตมากและได้รับความสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้
จ่ายมากในการเดินทางไปรักษา ณ โรงพยาบาลในเมือง รวมถึงเสียเวลาในการเดินทางมาที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียงเล็กน้อย
จากการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสังคมของผู้เขียนที่ดำเนินการในปี 2562
พบว่า รพ.สต. ที่โอนมาอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เฉพาะที่ศึกษา) ทุกแห่งได้รับ
การดูแลจัดสรรงบประมาณอย่างเต็มที่จากผู้บริหารท้องถิ่นทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับ
ประโยชน์อย่างมากทั้งในแง่การประหยัดค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการเดินทาง และที่สำคัญได้รับ
บริการที่มีมาตรฐานและหลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ศูนย์การแพทย์และ
ฟื้นฟูบึงยี่โถในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ซึ่งพัฒนามาจากสถานีอนามัยที่ได้รับ
การถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2550 จนกลายมาเป็นศูนย์การแพทย์และฟื้นฟู
ที่ทันสมัยมีบริการถึง 4 คลินิก 1 ศูนย์ ได้แก่ คลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง คลินิก
แพทย์แผนไทย คลินิกแพทย์แผนจีน คลินิกทันตกรรม และศูนย์กายภาพบำบัด โดยเทศบาล
เมืองบึงยี่โถได้จัดสรรงบประมาณมากกว่า 30 ล้านบาท ในการพัฒนาจากสถานีอนามัย
จนกลายเป็นศูนย์การแพทย์และฟื้นฟู และมีผู้ป่วยมาลงทะเบียนรักษากับศูนย์นี้กว่า
60,000 คน มากกว่าจำนวนประชากรของเทศบาลเมืองบึงยี่โถถึงหนึ่งเท่าตัว นับเป็น
ความสำเร็จที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขควรตระหนักและมีความจริงใจในการกระจาย
อำนาจบริการสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
ในด้านการศึกษาที่มีความสำคัญไม่แพ้ด้านสาธารณสุขกลับมีความก้าวหน้าน้อยกว่า
เพราะคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาในชนบทโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลยังเป็นปัญหา
อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ส่วนมากขาดแคลนครูสอน และคุณภาพการศึกษาไม่ทัดเทียม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 15,158 โรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 981,831 คน มีครูทั้งหมด 103,079 คน แบ่งเป็น
สถานศึกษาในเมือง สำหรับสถิติโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทย ปี 2562 พบว่ามีโรงเรียน
โรงเรียนขนาดเล็กในภาคเหนือ 3,659 โรงเรียน หรือร้อยละ 24 มีนักเรียน 211,460 คน
มีครู 23,490 คน ภาคกลาง 2,550 โรงเรียน หรือร้อยละ 17 มีนักเรียน 177,092 คน
ครู 17,942 คน ภาคใต้ 1,718 โรงเรียน หรือร้อยละ 11 มีนักเรียน 123,863 คน มีครู