Page 300 - kpi21190
P. 300
300
มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า ความไม่ต่อเนื่องในระดับนโยบาย การกระจายอํานาจของรัฐ
ที่เกิดขึ้นนี้ จึงทําให้การขับเคลื่อนการกระจายอํานาจโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง
และทางอ้อม อยู่ในสภาวะไร้เอกภาพเปรียบเสมือนกับสภาวะ “อนาธิปไตยในการดําเนิน
นโยบายกระจายอํานาจ” (Anarchy in Policy Process) หลายหน่วยงานชะลอหรือหยุดการ
ดําเนินการ หลายหน่วยงานมีท่าทีที่ตั้งรับ หลายหน่วยงานมีความริเริ่มหรือความพยายามที่จะ
ดึงกลับและไม่สนับสนุนการกระจายอํานาจ และหลายหน่วยงานที่ยังคงต้องการ “คุมอํานาจ
และรักษาสถานภาพความเป็นตัวตนของระบบราชการ” เอาไว้ด้วยการ กํากับดูแล อปท.
ที่มากเกินควร (วีระศักดิ์ เครือเทพและคณะ, 2557, น. 97) และเมื่อศึกษาการกระจาย
อำนาจสู่ท้องถิ่นในต่างประเทศจะพบว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกระจายอำนาจต้อง
อาศัยความต่อเนื่องของนโยบายกระจายอำนาจและเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลควบคู่
ไปกับเจตจำนงทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล
ประการที่สอง บริบทการเมืองการบริหารของรัฐไทยที่ยังคงเน้นการรวมอำนาจ
สู่ศูนย์กลาง กล่าวได้ว่า การเมืองไทยนับแต่การรัฐประหารในปี 2475 ที่ทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย เป็นเพียงการเปลี่ยนโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองเท่านั้น แต่จิตวิญญาณ
ของการเมืองการปกครองมิได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก โดยเฉพาะการเน้นการรวมศูนย์อำนาจ
ไว้ที่ส่วนกลาง (รัฐบาลและระบบราชการ) โดยที่ในบางช่วงของการเมืองไทย ข้าราชการ
มีบทบาททางการเมืองมากจนถูกเรียกว่า “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity)
ในช่วงที่ข้าราชการดำรงตำแหน่งทั้งทางการเมืองและการบริหารควบคู่กันและการที่ข้าราชการ
ทหารเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองโดยการรัฐประหารถึง 13 ครั้ง นับแต่การรัฐประหาร
ครั้งแรกในปี 2475 และเมื่อมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งก็มิได้ทำให้รูปแบบการใช้
อำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศแตกต่างไปจากเดิมมากนัก เพราะนักการเมือง
ที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังเน้นการรวมศูนย์อำนาจมากกว่ากระจายอำนาจ เนื่องจากการแข่งขัน
เข้าสู่อำนาจทางการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งต้องใช้ทุนสูงมากส่งผลให้ผู้ที่ได้เข้ามามี
อำนาจในรัฐบาลไม่มีเจตจำนงที่จะกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ในทางตรงกันข้ามกลับพยายาม
สร้างความนิยมให้กับตนเองและพรรคการเมืองที่สังกัดสำหรับการเเลือกตั้งครั้งต่อไปผ่าน
นโยบายประชานิยมและแผนงาน โครงการที่หวังผลระยะสั้นๆ และโครงการส่วนมากของ
รัฐบาลจะมุ่งไปที่ประชาชนเป้าหมายโดยตรง โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน้อยมาก
ประการที่สาม พบว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมากว่าแปดสิบปีเศษ ระบบราชการยังคงเป็น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ส่วนมากมีการกระจายอำนาจทางการบริหารมากกว่า โดยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
สถาบันที่มีความแข็งแกร่งและเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจทางการเมืองสู่ท้องถิ่น และ
บางส่วนจากกระทรวง กรมลงสู่หน่วยงานของตนในภูมิภาคมากกว่ากระจายอำนาจให้แก่
ผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการขยายอาณาจักร