Page 303 - kpi21190
P. 303

303



                       คำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าจะทำให้ความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ลดลงจะต้องทำอย่างไร


                       ผู้เขียนมีข้อเสนอดังนี้

                       ประการแรก รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่ชัดเจนโดย
                  การประกาศเป็นวาระสำคัญแห่งชาติ และมีนโยบายการกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

                  ในสังคมเป็นนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญของรัฐบาล และดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยการผลักดัน
                  กฎหมายที่เอื้อต่อการถ่ายโอนภารกิจสำคัญให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรรายได้ให้แก่
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 35 ภายใน 5 ปี และการดำเนินนโยบายของ
                  รัฐบาลควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการในพื้นที่ด้วย


                       ประการที่สอง รัฐบาลควรเร่งรัดให้มีการถ่ายโอนสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานีอนามัย
                  หรือ รพ.สต. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมรับไปดำเนินการโดยที่รัฐต้องมีแผน
                  เตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเข้ามามี
                  บทบาทร่วมกันอย่างเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และ
                  รัฐเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริมด้านงบประมาณ องค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารจัดการภารกิจ

                  ที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       ประการที่สาม ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาค
                  ในสังคม รัฐบาลควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจขับเคลื่อน

                  ยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด และในระดับพื้นที่ด้วยแทนที่จะให้ส่วนราชการเป็นตัวหลัก
                  เพียงฝ่ายเดียวในการตัดสินใจดำเนินการ และต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถ
                  ในการพึ่งตนเองของประชาชนในพื้นที่ในระยะยาวมากกว่าการสงเคราะห์ประชาชนที่หวังผล
                  ในระยะสั้น


                       ประการที่สี่ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรนำ
                  ประเด็นความเหลื่อมล้ำเป็นวาระสำคัญในการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครอง
                  ส่วนท้องถิ่นสามารถมีบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมท้องถิ่น เช่น การผลักดัน
                  การถ่ายโอนโรงเรียนขนาดเล็ก สถานีอนามัย หรือ รพ.สต. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  ไปดำเนินการ และการทำแผนพัฒนาศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  ในการรองรับภารกิจถ่ายโอน เป็นต้น

                       ประการที่ห้า รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยควรส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                  มีนโยบายและแผนงานโครงการที่มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ทั้งทางด้าน
                  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองควบคู่ไปกับการสงเคราะห์ตามความจำเป็น

                       ประการที่หก สถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคควรศึกษาวิจัยเพื่อสร้าง       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                  องค์ความรู้เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้บริหาร สมาชิกสภา
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308