Page 307 - kpi21190
P. 307

307













                                             ารเมืองเรื่องความเหลื่อมล้ำ
                                             มิติ อง าร ระ ายอำ า


                                                                                พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์*






                                         กระแสการกระจายอำนาจเหมือนการเมืองระดับชาติที่เราต่างก็ลืม
                                  ไปแล้ว จนถึงวันนี้ก็ยังเหมือนราวกับว่าบ้านเมืองนี้ไม่ต้องการกระจาย
                                 อำนาจ ทั้งที่ผ่านมา 4-5 ปีแล้ว เราต่างก็เคยคุยกันเรื่องการปฏิรูป

                               การปกครองท้องถิ่น แต่มาวันนี้กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ประเด็นสำคัญใน
                              สังคมปัจจุบันนี้ควรเป็นประเด็นที่เราต้องถกเถียงกันในสิ่งที่เรียกว่า ยุคหลัง
                            การกระจายอำนาจ เพราะเป็นเรื่องที่มากกว่าแค่การมานั่งถกเถียงว่าส่วนกลางหรือ
                          ท้องถิ่นที่ดีกว่ากัน การกระจายอำนาจไม่ใช่เพียงการกระจายระหว่าง รัฐ (nation)

                        หรือ ท้องถิ่น (local) แต่แท้จริงแล้วคือการกระจายให้อำนาจไปอยู่ในมือของประชาชน
                      โดยประชาชนจะต้องตรวจสอบได้และจะต้องมีส่วนร่วมในการริเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ดังนั้น
                    สิ่งที่จะนำเสนอเรื่องการกระจายอำนาจในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                        ประเด็นสำคัญแรก คือ เรื่องเมืองพิเศษและความเป็นเมือง เนื่องจากท้องถิ่นในปัจจุบันนี้

                  มีความเป็นเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เมื่อก่อนเราต่างก็
                  มองว่าเป็นพื้นที่ชนบท แต่ปัจจุบันนี้องค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยนไปแล้ว มีความเป็นเมือง
                  มากขึ้น มีพื้นที่พาณิชยกรรมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ภาพเก่าที่เราเคยมององค์การบริหารส่วนตำบล
                  คือการปกครองในชนบท ส่วนเทศบาลคือการปกครองในเมืองนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป นอกจากนี้

                  ประเด็นการพูดคุยเรื่องเมืองระดับโลกและเมืองของไทยนั้น ตามสถิติพบว่า มีจำนวนผู้อยู่
                  อาศัยในเมืองมากขึ้น การพูดถึงเรื่องเมืองและความเป็นเมืองในยุคนี้จึงหมายถึงการพูดถึง
                  ท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การพูดถึงรัฐส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นแบบเดิม
                  อีกต่อไป




                    *  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312