Page 309 - kpi21190
P. 309
309
ประเด็นที่สอง คือ ความเหลื่อมล้ำมีประเด็นที่หลากหลายและมีความซับซ้อน
เพราะเวลาที่เราพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำมักจะมองที่ความยากจนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว
ความเหลื่อมล้ำกับความยากจนไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน โดยความยากจนคือสภาวะที่ขาดแคลน
เข้าไม่ถึง และเปราะบาง ขณะที่ความเหลื่อมล้ำนั้นจำเป็นจะต้องพูดถึงความรวยและความจน
ด้วย อีกทั้งการพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำจะต้องมีความเข้าใจหลักการเรื่องความเป็นธรรมควบคู่
กันไป ซึ่งการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ผ่านมามักให้ความสำคัญเพียงแค่ความยากจน โดยไม่
ได้คำนึงถึงความสัมพันธ์และความซับซ้อนเรื่องความเหลื่อม ทำให้นโยบาย/โครงการต่าง ๆ
ที่ออกมาเป็นการแก้ปัญหาสำหรับคนยากจน แต่ไม่ได้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ประเด็นที่สาม คือการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น รัฐส่วนกลางมักมองเรื่องการกระจาย
อำนาจเป็นวาทกรรมบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แต่แท้จริงแล้วหัวใจของการปกครองท้องถิ่นคือการ
พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (local economic development) เมืองหรือท้องถิ่นนั้นจะพัฒนา
อย่างไร จะสร้างความเจริญในเมืองหรือท้องถิ่นนั้นอย่างไร รวมถึงจะทำอย่างไรให้ประชาชนมี
ความเป็นอยู่ที่ดี ยกตัวอย่างกรณีเมืองขอนแก่นที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา
เป็นสิ่งที่ขอนแก่นพยายามกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองโดยไม่ได้ทอดทิ้งเมืองชั้นในไว้ข้างหลัง
เพราะรากเหง้าของขอนแก่นเติบโตมาจากเมืองชั้นใน แต่การพัฒนาเมืองของรัฐส่วนกลางที่
ผ่านมามุ่งเน้นการเติบโตจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้างทางยก
ระดับ ซึ่งทำให้เมืองเกิดการขยายออกไปสู่พื้นที่รอบนอกอย่างไร้ทิศทาง
ประเด็นที่สี่ คือการขยับฐานะทางสังคม (social mobility) งานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศ
สิงคโปร์ได้ศึกษาการดิ้นรนของคนชั้นกลางในเมือง พบว่าคนชั้นกลางในเมืองอยากมีบ้านเป็น
ของตนเอง จนดิ้นรนออกไปอยู่อาศัยตามชานเมือง เพราะการมีบ้านเป็นของตนเองของ
คนชั้นกลางได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเองอย่างมาก อย่างไรก็ตามกลับสร้างปัญหาให้กับ
คนรุ่นลูกหลาน เพราะการออกไปอยู่อาศัยของคนชั้นกลางตามชานเมืองจะไม่สามารถเข้าถึง
การศึกษาของรัฐได้ แต่เดิมนั้นรัฐได้ออกแบบให้โรงเรียนอยู่ตามชุมชนต่างๆ ในเมือง ทำให้
การออกไปอาศัยอยู่ตามชานเมืองจึงเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ คนชั้นกลางจำนวนมากจึงส่ง
บุตรหลานเข้ามาอาศัยในเมืองเช่นเดิม จนสุดท้ายปัญหาเหล่านี้ก็วนกลับมาอีกทอดสู่คนรุ่นลูก
รุ่นหลาน เพื่อที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการขยับฐานะทางสังคมของตนเอง
และประเด็นสุดท้าย ความเหลื่อมล้ำไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายทั้งหมด ความเหลื่อมล้ำบางครั้ง
ถูกยอมรับในบางสังคมว่าเป็นลักษณะชั่วคราว ในบางครั้งความเหลื่อมล้ำเป็นทั้งเหตุละผลของ
การพัฒนา ยกตัวอย่างกรณีประเทศไทย การพัฒนายุคแรกที่เรียกว่า Uneven Development
ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ เป็นความจงใจให้เกิดความเหลื่อมล้ำโดยการนำเอา
ทรัพยากรจำนวนมากมาพัฒนากรุงเทพฯ เพราะเชื่อว่าวันหนึ่งความเจริญจากกรุงเทพฯ
จะกระจายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้นปัญหาความเหลื่อมล้ำอาจไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ หากแต่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ