Page 312 - kpi21190
P. 312
312
ประเด็นที่สอง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (sense of belonging) ในสังคมไทยบ่อยครั้ง
ที่เรามีความรู้สึกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่กระทบกับตัวเองก็จะวางเฉย แตกต่างกับสังคมตะวันตก
ที่รู้สึกว่าเป็นสิทธิของเราที่จะต้องปกป้อง เทศบาลนครยะลาได้จัดทำหลักสูตรขึ้นมาเพื่อปลูกฝัง
ความรู้สึกเป็นเจ้าของ โดยการปลูกฝังตั้งแต่เด็กเพื่อให้เด็กรู้สึกรักบ้านเกิดของตนเอง เพราะ
เมื่อไหร่ที่เกิดความรู้สึกนั้นแล้ว ความรู้สึกเป็นเจ้าของก็จะเกิดขึ้น เขาจะปกป้องบ้านเกิดของ
ตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องปลูกฝังควบคู่กับการมีจิตสาธารณะ ทางเทศบาลนครยะลาได้จัดตั้ง
วงซิมโฟนีออเคสตาขึ้นมา เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เด็กหลายคนเกิดในครอบครัวที่ยากจน
ก็มีสิทธิมีโอกาสที่จะได้เรียนไวโอลินจนกระทั่งทุกวันนี้มีเด็กหลายคนจากวงออเคสตาได้ทุน
ไปศึกษาต่อต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้ดนตรีมาสร้างสันติสุขให้กับสังคม ปลูกฝัง
ความรักท้องถิ่น และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน
ประเด็นที่สาม ชุมชนจัดการตนเอง เมื่อเทศบาลนครยะลาได้อำนาจมาแล้วก็จะส่ง
อำนาจนั้นต่อให้กับชุมชนในการบริหารจัดการตนเองตามคุณค่าค่านิยมและวัฒนธรรมของ
ชุมชนนั้น ๆ ในเขตเทศบาลนครยะลามีชุมชนมุสลิมจำนวนมาก ยกตัวอย่าง ชุมชนมุสลิม
ฝั่งตลาดเก่ากับชุมชนมุสลิมฝั่งสะเตง ทั้งสองชุมชนนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน แต่ก็มี
วัฒนธรรมของชุมชนที่แตกต่างกัน ในฐานะเทศบาลจึงไม่สามารถยัดเยียดคุณค่าวัฒนธรรมให้
กับประชาชนและชุมชนได้ จึงต้องเอาอำนาจที่เทศบาลมีนั้นส่งต่อให้กับชุมชนเพื่อไปบริหาร
จัดการตนเองต่อไป
ปัญหาของท้องถิ่นทุกวันนี้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นการไม่ให้ความสำคัญกับการกระจาย
อำนาจ ทำให้การพัฒนาหลายอย่างในระดับท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควรจะเป็น อีกทั้ง
ยังส่งผลไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนที่ไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5