Page 291 - kpi21190
P. 291

291



                       ข้อเท็จจริงที่ 1 ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ดีขึ้นเลยจากเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมา


                       ข้อเท็จจริงที่ 2 กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในครอบครัวคนจนคือ ครอบครัวคนชรา ส่วนครอบครัว
                  คนรวยมีอาชีพเฉพาะทางกับเจ้าของธุรกิจ

                       ข้อเท็จจริงที่ 3 เกือบครึ่งของครอบครัวไทยมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

                       ข้อเท็จจริงที่ 4 ความเหลื่อมล้ำจริงมากกว่าที่รายงานทั่วไปอย่างน้อย 25 %


                       ข้อเท็จจริงที่ 5 ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก

                       ข้อเท็จจริงที่ 6 ทรัพย์สินเฉลี่ยของครอบครัว ส.ส. รวยกว่าอีก 99.999 % ของ
                  ครอบครัวไทย


                       ข้อเท็จจริงที่ 7 นอกจากรายได้และทรัพย์สินยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ เช่น
                  การศึกษา สาธารณสุข

                       ข้อเท็จจริงที่ 8 ความเหลื่อมล่ำที่สำคัญที่สุดที่ควรแก้ไขคือ ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส


                       จากรายงานของ Oxfam ในปี 2016 ได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ลำดับสามของโลกที่มี
                  ความเหลื่อมล้ำมากที่สุดของโลกรองจากรัสเซียและอินเดีย โดยที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับ
                  คนจนขยายห่างออกมากขึ้น และจากการศึกษาของดวงมณี เลาวกุล แห่งศูนย์ศึกษา
                  ความเหลื่อมล้ำและนโยบายสาธารณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                  ในปี 2013 พบว่า ความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงอย่าง
                  ต่อเนื่อง มูลค่าทรัพย์สินครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มครัวเรือน 10 % แรก
                  ที่มีมูลค่าทรัพย์สินมากที่สุด โดยครัวเรือนกลุ่ม 10 % แรกนี้มีมูลค่าทรัพย์สินเฉลี่ยสูงกว่า
                  ครัวเรือนกลุ่มที่มีมูลค่าทรัพย์สินต่ำสุด 10 % สุดท้ายถึง 375.2 เท่า และเมื่อพิจารณาถึง

                  การถือครองที่ดินพบว่า ผู้ถือครองที่ดิน 10 % แรกที่ถือครองที่ดินมากที่สุด ถือครองที่ดิน
                  61.48 % ของที่ดินที่มีโฉนดทั้งหมด ผู้ถือครองที่ดิน top 1 % ถือครองที่ดินคิดเป็น 1 ใน 4
                  ของที่ดินที่มีโฉนดทั้งหมด (ดวงมณี เลาวกุล, 2561)

                       กล่าวสำหรับความเหลื่อมล้ำทางสังคม พบว่า มีความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอยู่มาก

                  โดยเฉพาะระหว่างการศึกษาในเมืองกับชนบทที่มีความเหลื่อมล้ำมากในเชิงปริมาณและ
                  คุณภาพ กล่าวคือ สถานศึกษาในเมืองมีความพร้อมด้านจำนวนบุคลากรการศึกษา
                  งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ในเชิงคุณภาพ ได้แก่ มาตรฐานการศึกษา คุณภาพ
                  บุคลากรทางการศึกษา ล้วนแต่มีมากกว่าในชนบทอย่างเห็นได้ชัด และในระหว่างเมืองใหญ่กับ

                  เมืองเล็กก็มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเกิดขึ้นเช่นกัน และความเหลื่อมล้ำระหว่างสถาน
                  ศึกษาขนาดใหญ่กับสถานศึกษาขนาดเล็กก็เป็นปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทยโดยเฉพาะใน                 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                  ระดับขั้นพื้นฐาน ซึ่งความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก
                  และเยาวชนของครอบครัวที่มีฐานะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ทำให้โอกาสในการได้งานทำที่มั่นคง
   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296