Page 288 - kpi21190
P. 288
288
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมลงได้ เช่น เดนมาร์ค เยอรมนี ฟินแลนด์ รวมถึงสาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งในระยะหลังมีผลงานที่โดดเด่นในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยเฉพาะการเก็บภาษีกับ
คนรวยในอัตราก้าวหน้ามากขึ้น
ในขณะที่รัฐบาลของอีกหลายประเทศในลำดับท้ายๆ ตารางไม่ให้ความสนใจเอาใจใส่ต่อ
ประเด็นความเหลื่อมล้ำเท่าที่ควร เช่น ไนจีเรีย อุซเบกิสถาน ชาด สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูง
ลำดับต้น ๆ ของโลกแต่กลับเป็นประเทศที่ติดอันดับหนึ่งใน 10 ประเทศ ที่มีผลงานด้านการลด
ความเหลื่อมล้ำต่ำที่สุดเนื่องจากมีการนำตัวชี้วัดตัวใหม่ด้านการปฏิบัติทางภาษีที่ส่งผลเสียต่อ
การลดความเหลื่อมล้ำอาทิ การเพิ่มภาษีรายได้ส่วนบุคคลร้อยละ 2 แต่อัตราสูงสุดสำหรับคนที่
มีรายได้สูงสุดยังคงที่ในระดับต่ำที่สุดร้อยละ 22 และการที่ได้รับคะแนนที่ต่ำยังเป็นผลมาจาก
รายจ่ายสาธารณะทางด้านสังคม (การศึกษา สาธารณะสุขและการคุ้มครองทางสังคม)
มีเพียงร้อยละ 39 เปรียบเทียบกับร้อยละ 50 ของสาธารณรัฐเกาหลีและไทย (Oxfam
International, 2018, p.10) และยังมีรัฐบาลของประเทศร่ำรวยเช่น สหรัฐอเมริกา สเปน
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจังมากนักเช่นกัน (Oxfam
International, 2018, p.9)
เมื่อนำประเด็นความเหลื่อมล้ำมาพิจารณาจะพบว่า ประเด็นความเหลื่อมล้ำที่ถูกกล่าว
ถึงกันมาก ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic Inequality) โดยที่ความเหลื่อมล้ำ
ทางรายได้ปรากฏว่า ในปี 1820 อัตราส่วนระหว่างร้อยละ 20 ของคนที่รวยที่สุดกับคนที่จน
ที่สุดของประชากรโลกอยู่ที่สามต่อหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปถึงปี 1991 อัตราส่วนเปลี่ยนเป็น
แปดสิบหกต่อหนึ่ง (Wikipedia, 2019) ซึ่งเท่ากับว่าช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุด
ร้อยละ 20 ของโลกกับกลุ่มคนยากจนร้อยละ 20 ขยายห่างออกไปอย่างมาก ทั้ง ๆ ที่
เศรษฐกิจของโลกเติบโตขึ้นมาโดยตลอดเป็นส่วนใหญ่
จากการศึกษาของ World Inequality Lab ในปี 2018 พบว่า ความเหลื่อมล้ำทาง
ความมั่งคั่ง (Wealth Inequality) ยังเกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลกแตกต่างเพียงระดับ
ความมั่งคั่งที่ต่างกันเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่ง
(ซึ่งไม่ใช่เฉพาะรายได้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงสินทรัพย์อื่นด้วย) ที่เกิดขึ้นในแต่ละสังคมประเทศได้
เกิดขึ้นและขยายตัวในอัตราความเร็วที่ต่างกันไม่เว้นแม้กับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น
อันดับต้นๆ ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น โดย World
Inequality Lab พบว่า ร้อยละ 10 ของคนที่มีความมั่งคั่งมากที่สุดในประเทศสาธารณรัฐ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ประชาชนจีนมีความมั่งคั่งถึงร้อยละ 70 ของคนทั้งประเทศ และสหรัฐอเมริกา คนที่มี
ความมั่งคั่งต่ำสุดร้อยละ 50 มีความมั่งคั่งเพียงร้อยละ 2 ของทั้งประเทศ ในขณะที่ในภาพรวม
ของทั้งโลกพบว่า คนมั่งคั่งชั้นกลางร้อยละ 40 มีความมั่งคั่งร้อยละ 30 ของทั้งโลก (Facundo
Alvaredo and others, 2019)