Page 287 - kpi21190
P. 287

287



                       บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่า การกระจายอำนาจจะเป็นกลไกในการช่วยลด

                  ความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่ได้จริงหรือไม่ เพราะสังคมไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำ
                  มานานแล้วและมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นสวนทางกับวาทกรรมของรัฐบาลที่ผ่านๆ มาว่า
                  มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

                  ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความเหลื่อมล้ำ” ในระดับพื้นที่


                       ดังได้กล่าวแล้วว่า ประเด็นความเหลื่อมล้ำ (Inequality) เป็นวาระของโลกและมีการพูด

                  ถึงในเวทีสำคัญของโลกทั้งในองค์การสหประชาชาติ และ World Economic Forum ซึ่งเป็นเวที
                  ที่ผู้นำประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจโลกและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่มี
                  อิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกมาพบปะกันเพื่อหารือเกี่ยวกับเศรษฐกิจของโลก และมีการ
                  หยิบยกประเด็นความเหลื่อมล้ำมาพูดคุยกัน ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่า มีผลในทางปฏิบัติที่จะทำให้

                  ความเหลื่อมล้ำของโลกและของประเทศต่างๆ ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความเหลื่อมล้ำก็ยัง
                  ดำรงอยู่ในแต่ละประเทศ แม้จะมีแนวโน้มที่ลดลงก็ตาม

                       ในการประชุม World Economic Forum ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2019 ที่ประชุมได้มี
                  มติจัดตั้ง The Partnership for Global LGBTI Equality (PGLE) โดยที่ LGBTI เป็นการรวม

                  กลุ่มกันขององค์การ อาทิ Accenture, Deutsche Bank, EY, Mastercard, Microsoft, PWC,
                  และ Salesforce เป็นต้น ที่สมัครใจเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนกันในความพยายามทำให้เกิดความ
                  เสมอภาคมากขึ้นในสังคมโลกและสังคมประเทศภายใต้การสนับสนุนขององค์การสิทธิมนุษยชน
                  แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนา

                  แห่งสหัสวรรษ 10 ประการ (Goal 10 of the Sustainable Development Goals) และ
                  มีประเทศสมาชิก 193 ประเทศร่วมกันลงนามในการให้คำมั่นว่า จะดำเนินการให้เป็นไปตาม
                  เป้าหมายดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ และผลก็ปรากฏว่า ประเทศแต่ละประเทศประสบ
                  ความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกัน (World

                  Inequality Lab, 2018)

                       องค์การนานาชาติอ็อกแฟม (Oxfam International) ซึ่งเป็นสหพันธ์องค์การที่รวม
                  19 องค์การใน 19 ประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของ

                  โลก ได้จัดทำ “ดัชนีพันธกรณีการลดความเหลื่อมล้ำ” (The Commitment to Reducing
                  Inequality Index, CRI) และออกรายงานในเรื่องนี้ล่าสุดในปี 2018 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ
                  คือ เป็นการวัดผลงานของรัฐบาล 157 ประเทศ ในประเด็นหลักที่มีส่วนสำคัญในการลด
                  ความเหลื่อมล้ำ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การใช้จ่ายด้านสังคม (Social spending) เช่น
                  การศึกษา สาธารณสุข การคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น 2) ภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive

                  taxation) ตามหลักที่ว่า มีรายได้มากจ่ายภาษีมาก และ 3) ค่าแรงงานที่สูงขึ้น (Higher        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
                  wages) รวมถึงสิทธิแรงงานและการคุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานสตรีและเด็ก (Oxfam
                  International, 2018, p. 3) และยังพบว่า หลายประเทศประสบความสำเร็จในการลด
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292