Page 284 - kpi21190
P. 284

284



                     ประการที่สาม การกระจายอำนาจที่ดีต้องเป็นการสร้างโอกาสและความเข้มแข็งของ

               ภาคประชาชน

                     ดังนั้น การกระจายอำนาจที่ดีจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งและโอกาสให้กับประชาชน
               เพื่อเข้าร่วมในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีคุณภาพ เพราะการกระจายอำนาจเป็นการสร้าง
               สมดุลระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนในบริบทของประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงแล้ว

               ประชาชนกลับไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง จึงนำมาสู่คำถามว่า การกระจายอำนาจจะเป็น
               กลไกลดความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ?

                     โดยแท้จริงแล้วนั้น การกระจายอำนาจสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
               เพราะมิติของความเหลื่อมล้ำมีความหลากหลายซับซ้อน จะต้องใช้กลไกหลายกลไกเข้าไปแก้ไข

               เพียงแต่การกระจายอำนาจเป็นกลไกหนึ่งที่สามารถเข้าไปแก้ไขหรือลดความเหลื่อมล้ำได้เพียง
               ส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นกรณีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มักจะกล่าวเสมอว่า ช่องว่าง
               ระหว่างคนรวยกับคนจนมีมาก หรือความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่คนจนมีโอกาสในการเข้าถึง

               ทรัพยากรต่าง ๆ ได้ไม่เท่ากับคนรวย เป็นต้น หากย้อนมองดูความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
               ซึ่งกำลังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
               โดยภูมิภาคที่มีความยากจนมาที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคที่มีความมั่งคั่ง
               มากที่สุด คือ กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการจัดสรรทรัพยากร
               ที่ไม่เท่าเทียมกัน มีเพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีการกระจุกตัวของทรัพยากรมากกว่าพื้นที่อื่น

               ทั้งหมดนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐ
               เองก็พยายามแก้ไขมาเป็นเวลานานแล้ว หากแต่ปัญหาก็ไม่ได้ลดลง จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องคำนึง
               ถึงความเป็นธรรมควบคู่ไปกับการแก้ไขเรื่องความเหลื่อมล้ำด้วย เพราะความเสมอภาค

               โดยปราศจากความเป็นธรรมก็ไม่เกิดประโยชน์มากนัก

                     นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ผู้คนต่างให้ความสนใจน้อยมาก
               หากแท้จริงแล้วอาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ เพราะกลุ่มผลประโยชน์ที่มี
               โอกาสเข้าถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองมักเป็นกลุ่มทุนใหญ่และกลุ่มข้าราชการ ซึ่งมี

               โอกาส มีทรัพยากร และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้
               การกระจายอำนาจจึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวนี้ได้ หนึ่งในวิธีนั้นคือ
               การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน สามารถ
               ที่จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่ได้ จากการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.ปธาน
               สุวรรณมงคล เกี่ยวกับนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำนั้น ได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างองค์กร
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ใน 2 แห่งเท่านั้นที่ผู้บริหารมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน


               ขณะที่ส่วนใหญ่ดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นเรื่องการสงเคราะห์มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ
               ความสามารถของประชาชนในระดับพื้นที่ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะรัฐบาลไม่ได้ดำเนินนโยบาย

               กระจายอำนาจอย่างเป็นรูปธรรม ผู้นำไม่มีความสนใจหรือไม่มี Political View ในการกระจาย
   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289