Page 243 - kpi21190
P. 243

243



                  การเก็บภาษีคนรวย ภาษีทางตรง และภาษีจากเงินทุนแต่อย่างใด ต่อประเด็นที่สองนั่นคือ

                  บทบาทของกองทัพ มีการชี้ให้เห็นว่าในประเทศหลังอาณานิคม ทหารมีความเป็นอิสระ และ
                  มีบทบาทในทุกแง่มุมทางการเมือง แตกต่างจากในประเทศตะวันตก (Slater, Smith and Nair,
                  2014)

                       อีกหนึ่งงานสำคัญในกลุ่มนี้ที่นำเสนอข้อโต้แย้งที่น่าสนใจคืองานของสเตฟาน แฮกการ์ด

                  และรอเบิร์ต คอฟมัน จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบอบระหว่างปีค.ศ. 1980-2008 ทั้ง
                  การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย 78 กรณี และการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับจากประชาธิปไตย
                  ไปสู่เผด็จการ 25 กรณี หากพิจารณาในแง่ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย แฮกการ์ด
                  และคอฟมันพบว่า สาเหตุของการเปลี่ยนผ่านที่มาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นเพียง “หนึ่งใน

                  รูปแบบของการเปลี่ยนผ่าน” เท่านั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนผ่าน ขณะเดียวกัน
                  การเปลี่ยนผ่านภายใต้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมักจะพบได้ในกรณีของประเทศที่ประสบปัญหา
                  ความเหลื่อมล้ำในระดับที่สูง ไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำระดับปานกลาง และมักพบได้ในประเทศ
                  ที่ระบอบเผด็จการได้ใช้อำนาจความรุนแรงในการกดทับมวลชน (Haggard and Kaufman,

                  2016) ข้อค้นพบทั้งสองนี้ล้วนแล้วแต่ขัดแย้งกับข้อสรุปของงานในกลุ่ม “ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ
                  ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง” ได้ทำนายไว้โดยสิ้นเชิง

                       นอกจากการศึกษาการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตยแล้ว
                  แฮกการ์ด และคอฟมันยังศึกษาการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับจากประชาธิปไตยกลับสู่อำนาจนิยม

                  อีกด้วย ข้อค้นพบที่สำคัญจากการศึกษาในแง่มุมนี้คือการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับส่วนมากไม่ได้มี
                  สาเหตุมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือการกระจายทรัพยากร หากแต่มาจากปัญหาที่ทั้งสอง
                  เรียกว่า “อาการประชาธิปไตยอ่อนแอ” (weak democracy syndrome) ที่สะท้อนให้เห็นผ่าน

                  ปัญหาต่างๆ ทั้งการที่กองทัพค่อนข้างเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือน
                  ความอ่อนแอของสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตย และการที่รัฐบาลประชาธิปไตยไม่
                  สามารถตอบสนองต่อปัญหาต่างๆ ของประเทศได้ สำหรับการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปสู่
                  เผด็จการอำนาจนิยมนั้น ทั้งสองได้นำเสนอเส้นทางการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปสองลักษณะ
                  สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงย้อนกลับโดยชนชั้นนำ (elite reversion) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้

                  ท่ามกลางบริบทที่ชนชั้นนำทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มีฐานการสนับสนุนจากมวลชน และพยายาม
                  ดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากร และการที่รัฐบาลชนชั้นนำได้ใช้อำนาจในการสกัดกั้นไม่ให้
                  มวลชนหรือกลุ่มการเมืองอื่น ๆ เรียกร้องการกระจายทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลง

                  ย้อนกลับโดยผู้นำประชานิยม (populist reversion) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำประชานิยมที่มาจาก
                  การเลือกตั้งได้ใช้อำนาจแบบเผด็จการในการโค่นล้มตัวแสดงหรือสถาบันทางการเมืองแบบ
                  ประชาธิปไตยที่พยายามต่อต้านแนวนโยบายการกระจายทรัพยากร (Haggard and Kaufman,
                  2016)                                                                                    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248