Page 245 - kpi21190
P. 245

245



                       ในอีกส่วนหนึ่ง นอกจากบทบาทชนชั้นนำแล้ว บทบาทของชนชั้นกลางก็มีความสำคัญ

                  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำอาจเป็นผลมาจากการที่ชนชั้น
                  กลางเลือกที่จะสนับสนุนชนชั้นนำ การตัดสินใจดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากการที่ความเหลื่อมล้ำ
                  ส่งผลทำให้สถานะทางสังคมของชนชั้นกลางดูดีมากขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ หรืออาจจะเป็นผล
                  มาจากการที่ชนชั้นกลางไม่ประสงค์ที่จะกระจายผลลัพธ์จากการพัฒนาในอนาคตให้กับคนจน

                  (Harms and Zink, 2003) บรังโค มิลาโนวิช (Branko Milanovic) ตั้งข้อสังเกตว่า
                  ชนชั้นกลางจะเห็นค่าประชาธิปไตยก็ต่อเมื่อพวกเขามองว่าประชาธิปไตยสามารถเป็นเครื่องมือ
                  ในการจำกัดอำนาจของชนชั้นนำ และป้องกันคนจนไม่ให้ยึดครองทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งที่ตน
                  มีอยู่ อย่างไรก็ตามปัญหาที่ผู้เขียนพบคือชนชั้นกลางอยู่ภายใต้ภัยคุกคามของความเหลื่อมล้ำ

                  (Milanovic, 2016) ภายใต้บริบทดังกล่าวทำให้พลังของชนชั้นกลางในการผลักดันให้มี
                  การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งอ่อนด้อยลง

                       ในส่วนสุดท้ายผู้ที่รับประโยชน์จากการกระจายทรัพยากรนั่นคือก็มีความสำคัญ
                  หากมวลชนยังค่อนข้างขาดความตื่นตัว และความตระหนักในสภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำ

                  สิ่งที่อาจจะตามมาคือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะขยายตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับ
                  ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำ และมวลชน อย่างไรก็ตามหากพิจารณา
                  จากผลสำรวจค่านิยมระดับโลก (World Value Survey) ในปีค.ศ. 2005 และ 2008 พบว่า
                  พลเมืองจาก 11 ใน 16 ประเทศกำลังพัฒนา เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “เราต้องการให้มี

                  ความแตกต่างทางรายได้เพื่อเป็นแรงจูงใจ” ในสัดส่วนที่มากกว่าคนที่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า
                  “รายได้ควรมีความเท่าเทียมมากกว่านี้” ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าพลเมืองจำนวน
                  ไม่น้อยยังมีทัศนคติในทิศทางที่เกื้อหนุนต่อโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ (Bermeo, 2009)


                       ประการที่สาม  สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดในปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คือ
                  แนวโน้มที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะส่งผลตามมาทำให้ความเหลื่อมล้ำในด้านอื่นๆ
                  เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางการเมือง ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ชนชั้นนำไม่จำเป็นว่า
                  จะต้องใช้ความรุนแรงในการกดทับข้อเรียกร้องของมวลชนในการกระจายทรัพยากรเสมอไป
                  แต่สามารถใช้ฐานทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่ตนเองมีเข้าไปส่งอิทธิพลต่อกระบวนการทาง

                  การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยที่ชนชั้นนำสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม
                  ทางการเมืองได้หลากหลายลักษณะ ทั้งการลงคะแนนเสียงในฐานะพลเมือง การให้เงินบริจาค
                  แก่นักการเมือง และพรรคการเมือง และการล๊อบบี้ เป็นต้น ต่างจากมวลชนที่มักจะสามารถ

                  มีส่วนร่วมในกระบวนการผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น หากกระบวนการเหล่านี้
                  เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่มวลชนขาดความตื่นตัวทางการเมืองแล้ว โอกาสที่ระบอบการเมือง
                  แบบประชาธิปไตยจะเอื้อต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งมีน้อยลง และในระยะยาว
                  อาจส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของมวลชนจะยิ่งลดน้อย             การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                  ถอยลง ในแง่นี้การออกแบบสถาบันการเมืองที่สามารถป้องกันคนบางกลุ่มในการเข้าไปมี

                  อิทธิพลทางการเมืองมากเกินไปอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับการสร้างความตระหนัก
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250