Page 242 - kpi21190
P. 242

242



                     ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากบทบาทของมวลชนในการตอบสนองต่อปัญหาความ

               เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และอิทธิพลของชนชั้นนำที่ครอบงำระบอบการเมืองจนส่งผลให้เกิด
               ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเมือง จะเห็นได้ว่ามวลชนหรือภาคประชาสังคมเองไม่ได้นิ่งเฉย
               เสมอไป อาจจะเป็นเพราะตัวแสดงเหล่านี้มองว่าพื้นที่ของสถาบันการเมืองถูกครอบงำ
               โดย “ชนชั้นนำร้อยละ 1” เท่านั้น จึงทำให้เลือกที่จะเคลื่อนไหว “ภายนอกสถาบันการเมือง”

               เป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากบทบาทของขบวนการเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม ดังเช่น
               ขบวนการยึดครอง แม้ว่าผลในเชิงรูปธรรมขบวนการเหล่านี้อาจไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบาย
               หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองได้ แต่การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ส่งผลตามมาทำให้
               มวลชนมีความตระหนักในความสำคัญของปัญหามากขึ้น และอาจส่งผลตามมาในการสร้างแรง

               กดดันไปยังชนชั้นนำและระบบการเมือง ที่ผ่านมามีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้
               ประชาธิปไตยอาจไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากในด้านหนึ่งคนส่วนใหญ่
               ในประเทศยังขาด “ความสำนึกในชนชั้น และความตระหนักในสภาพปัญหา” จนไม่อาจรวมตัว
               กันเพื่อเรียกร้องได้ และในอีกด้านหนึ่งชนชั้นนำยังผูกขาดบทบาทนำในทางการเมืองอยู่อาจ

               เป็นการยากที่จะดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ (Crawford and Abdulai, 2012)

                     อีกหนึ่งกลุ่มงานสำคัญที่ออกมาโต้แย้งงานกลุ่ม “ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อ
               การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง” คืองานกลุ่มที่อาจจะเรียกว่า “ปัจจัยเชิงการเมืองที่ส่งผล
               ต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง” หนึ่งในตัวแปรทางการเมืองที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาโต้

               แย้งคือ “ศักยภาพของรัฐ” (state capacity) และชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำในตัวเองไม่ได้ส่ง
               ผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง หากแต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญนั่นคือศักยภาพ
               ของรัฐ กล่าวคือในบริบทที่รัฐขาดศักยภาพ แม้ว่าจะประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับ
               สูง แต่การเปลี่ยนแปลงระบอบจะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากตัวแสดงที่มีเหตุมีผล และมีบทบาท

               หลักในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบ จะเล็งเห็นแล้วว่า แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงระบอบ
               การเมือง แต่จะไม่สามารถดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากรได้เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากรัฐนั้น
               ด้อยในศักยภาพที่จะดำเนินการ ข้อโต้แย้งดังกล่าวได้รับการทดสอบจากการศึกษาในช่วงเวลา
               ระหว่าง ค.ศ. 1945-1990 ใน 112 ประเทศที่พบว่าขีดความสามารถของรัฐส่งผลต่อ

               การเปลี่ยนแปลงระบอบ ในกรณีรัฐที่เข้มแข็ง หากประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ โอกาส
               ในการเปลี่ยนผ่านระบอบจะมีสูง แต่ในกรณีรัฐที่อ่อนแอ แม้ว่าจะประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำ
               แต่จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านของระบอบ (Soifer, 2013)


                     ในทำนองเดียวกัน จากการศึกษาประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมมาก่อน 139 ประเทศ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ในประเทศ “หลังอาณานิคม” ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดจากแรงกดดันเรื่องการกระจายทรัพยากร
               ในช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1972-2007 ได้ข้อสรุปสำคัญว่าการล่มสลายของประชาธิปไตย


               ของตัวแสดงเสมอไป แต่การล่มสลายดังกล่าวมักจะมาจากความอ่อนแอของรัฐ รวมถึงเหตุผล
               ส่วนตัวของกองทัพ ต่อประเด็นสำคัญประการแรกในเรื่องความอ่อนแอของรัฐ ซึ่งผู้เขียนได้ใช้

               ตัวชี้วัดสำคัญนั่นคือ “การเก็บภาษี” ผลการศึกษาชี้ว่าการรัฐประหารไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247