Page 237 - kpi21190
P. 237
237
ทั้งฝ่ายวิชาการ และผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญ
คือการแปลงฉันทามติดังกล่าวให้กลายเป็นการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ซึ่งมีนัยสำคัญคือ
การปรับเปลี่ยนแนวนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นแนวนโยบาย
แบบเสรีนิยมใหม่ การดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากร ทั้งการจัดเก็บภาษี การดำเนิน
นโยบายสวัสดิการ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถดำเนิน
การได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากผู้ได้ประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้แม้ไม่มีจำนวนที่มากนัก
แต่ล้วนแล้วแต่ทรงอิทธิพลทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งภายในประเทศและระดับ
ระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำ
จากการทบทวนการศึกษาในเรื่องกระบวนการประชาธิปไตย และการศึกษาความเหลื่อมล้ำ
จะพบความน่าสนใจประการหนึ่ง นั่นคือ ขณะที่ในการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย ปัจจัย
เรื่องความเหลื่อมล้ำเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ แต่ในการศึกษาความเหลื่อมล้ำ
โดยเฉพาะโดยนักเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยเรื่องประชาธิปไตยถูกมองโดยนัยว่าเป็นองค์ประกอบ
ประการหนึ่งที่จะส่งผลต่อทิศทางของความเหลื่อมล้ำ สิ่งนี้ปรากฏให้เห็นในงานของคุซเนตส์
ที่สะท้อนว่า การขยายตัวของชนชั้นที่มีรายได้ต่ำในเมืองจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้
รัฐบาลต้องหันมาให้ความสำคัญกับการปกป้องคุ้มครองสวัสดิการของประชาชน และขยายผล
ในเชิงบวกของการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภาคส่วนต่างๆของสังคม (Kuznets, 1955) หรือหาก
มองในมุมมองต่อยอดงานของคุซเนตส์ ที่เสนอโดยดารอน อเซโมกลู (Daron Acemoglu)
และ เจมส์ โรบินสัน (James Robinson) ได้ระบุว่าจากปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเกิดมาจาก
กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างแรงกดดันทางการเมืองตามมา โดยเฉพาะต่อกลุ่มชนชั้นนำ
แรงกดดันนี้หากเกิดขึ้นในรัฐที่เป็นเผด็จการอำนาจนิยมจะส่งผลทำให้รัฐบาลยอมผ่อนคลาย
อำนาจหรือกระทั่งยอมเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความรุนแรง
ในลักษณะของการปฏิวัติ และภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลแบบประชาธิปไตยมักจะต้อง
ดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (Acemoglu and Robinson, 2002)
ดังที่จะชี้ให้เห็นในส่วนถัดมา งานที่เชื่อมโยงการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย และ
ความเหลื่อมล้ำในยุคถัดมา ได้รับอิทธิพลจากงานของคุซเนตส์ ไม่มากก็น้อย
ในการทบทวนงานชิ้นสำคัญที่เชื่อมโยงสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ผู้เขียนจะมุ่งเน้นไปที่งาน
สำคัญ 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มงานที่อาจเรียกรวมได้ว่าเป็นงานที่สำรวจปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ
ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบอบการเมือง อันได้แก่ งานของคาร์เลส บอร์ส (Carles
Boix) งานของดารอน อเซโมกลู และเจมส์ โรบินสัน และงานกลุ่มที่สองที่ให้ความสำคัญกับ
ปัจจัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบอบ โดยงานกลุ่มนี้ตั้งคำถามกับ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ความเชื่อมโยงระหว่างความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมองว่าเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ กับกระบวนการ
ประชาธิปไตย พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงปัจจัยทางการเมืองอื่นๆที่ส่งผลต่อกระบวนการ