Page 234 - kpi21190
P. 234

234



               ความโชคร้ายบางประการจนส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขัน ดังเช่น เด็กบางคนที่ผู้ปกครอง

               ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการเตรียมตัวสอบเข้าเรียนได้
               นอกจากนี้ ผู้แพ้จากการแข่งขันมักจะได้รับผลตอบแทนที่น้อยกว่าผู้ชนะ เมื่อเวลาผ่านไป
               ความแตกต่างในสถานะและความมั่งคั่งจะมีแนวโน้มที่ส่งผ่านไปยังรุ่นสู่รุ่น จนในท้ายที่สุด
               อาจส่งผลตามมาทำให้การแข่งขันจะเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียม (Atkinson, 2015)


                     งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งซึ่งมักได้รับการอ้างถึงเป็นวงกว้างในช่วงเวลาที่ผ่านมาคืองานของ
               อมาตยา เซน (Amartya Sen) ที่แม้จะให้ความสำคัญกับ “เสรีภาพ” เช่นเดียวกับนักวิชาการ
               สายเสรีนิยม หรืออิสระเสรีนิยมที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่เซนตระหนักถึงข้อจำกัดของกลไก
               ตลาดที่ไม่สามารถทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน เมื่อมีผู้หนึ่งผู้ใดได้ประโยชน์

               มักจะมีผู้เสียประโยชน์ เช่นเดียวกับข้อจำกัดในการจัดสรรสิ่งที่เป็นสินค้าสาธารณะ
               ขณะเดียวกันยิ่งรัฐปล่อยให้กลไกตลาดทำงานมากเท่าใด จะยิ่งส่งผลให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
               และความยากจน ซึ่งจะส่งผลตามมาทำให้มนุษย์ไม่อาจใช้สมรรถภาพ (capacities) ของตน
               ได้อย่างเต็มที่ ภายใต้บริบทและเงื่อนไขดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่ออุดช่องโหว่

               ที่เกิดจากกลไกตลาด และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กระทบต่อการใช้สมรรถภาพของมนุษย์
               (Sen, 1999)

                     อีกหนึ่งกลุ่มงานที่สำคัญที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความเหลื่อมล้ำคืองานที่
               ศึกษาความเหลื่อมล้ำโดยนักสังคมวิทยา ประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากนักปรัชญาอย่างชัดเจน

               คือมุมมองที่ว่า “ความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งสร้างหรือประดิษฐกรรมทางสังคม” โดยงานกลุ่มนี้
               มักจะมีสมมติฐานตั้งต้นว่า องค์ประกอบสำคัญของความเหลื่อมล้ำคือ “ความแตกต่าง”
               (differences) ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากแต่เป็นสิ่งสร้างทางสังคม

               (socially constructed) ไม่ว่าจะเป็นฐานะทางเศรษฐกิจ (รวย-จน) สถานะทางอำนาจ
               (ผู้ปกครอง-ผู้ถูกปกครอง) ระดับการศึกษา (สูง-ต่ำ) ชาติพันธุ์ (ชนส่วนใหญ่-ชนกลุ่มน้อย)
               ชนชั้น (ชนชั้นนำ-ชนชั้นกลาง-ชนชั้นล่าง) เพศสภาพ (หญิง-ชาย-อื่นๆ) เป็นต้น
               ประดิษฐกรรมทางสังคมเหล่านี้นอกจากจะ “ขีดเส้นแบ่งความแตกต่าง” แล้ว ยังมักจะเกิด
               ควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคมบางลักษณะที่ส่งผลต่อการ “สร้างความตระหนักในความแตกต่าง”

               และ “ผลิตซ้ำความแตกต่าง” ซึ่งอาจส่งผลตามมาให้เกิดการแบ่งแยกกีดกัน (exclusion) หรือ
               สร้างเงื่อนไขบางประการทำให้ผู้ที่ถูกกีดกันไม่อาจใช้ศักยภาพพื้นฐานที่มีเพื่อบรรลุเป้าหมาย
               บางประการได้ (Therborn, 2013)

                     นอกจากมุมมองของนักปรัชญาและนักสังคมวิทยาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความรับรู้
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   เรื่องความเหลื่อมล้ำแล้ว ยังมีงานอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามชี้ให้เห็นถึง “ภยันตรายนานัปการ


               ที่ตามมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ” นักวิชาการที่ศึกษาในประเด็นลักษณะนี้ค่อนข้างครอบคลุม
               หลากหลายสาขาตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์ ดังเช่น งานของโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz)

               ที่ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนสำคัญของความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลง
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239