Page 236 - kpi21190
P. 236
236
หากพิจารณาถึงมุมมองที่มีต่อความเหลื่อมล้ำในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าตัวแสดงต่าง ๆ
เริ่มเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมากขึ้น รวมทั้งตัวแสดง
ที่ในอดีตเคยมีบทบาทสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็น
องค์กรระหว่างประเทศ หรือประเทศมหาอำนาจดังเช่นสหรัฐอเมริกา ในส่วนขององค์กร
ระหว่างประเทศจะเห็นได้ถึงบทบาทขององค์กรสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ
(ผ่านการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน)
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ
การพัฒนา (OECD) ที่ได้ออกรายงานสะท้อนปัญหาและความกังวลเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ
รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อมุ่งแก้ปัญหาดังกล่าว ในส่วนของประเทศมหาอำนาจดังเช่น
สหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้
เป็นอย่างมาก พอล ครุกแมน (Paul Krugman) ถึงกับเรียกแนวนโยบายเรื่องนี้ของโอบามาว่า
เป็นการดำเนิน “สงครามต่อต้านความเหลื่อมล้ำ” (war on inequality) (Krugman, 2016)
นอกจากนี้ยังเห็นได้ถึงบทบาทของภาคประชาสังคมระดับโลกที่พยายามเรียกร้องให้เห็น
ความตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ ขบวนการดังกล่าวสามารถเรียกในภาพรวมว่าเป็น
“ขบวนการเรียกร้องความเป็นธรรมระดับโลก” (Global Justice Movement) ตัวอย่างที่
เด่นชัดที่สุดคือ “ขบวนการยึดครอง” (Occupy Movement) (Baumgarten, 2017)
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งในกระแสการศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำในยุคปัจจุบันคือ
ดูเหมือนว่านักวิชาการและผู้กำหนดนโยบายต่างเข้าใจสาเหตุของความเหลื่อมล้ำ รวมทั้ง
แนวทางในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างดี ในส่วนของสาเหตุของความเหลื่อมล้ำ
โดยเฉพาะที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาปัจจุบัน งานส่วนมากได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยของการขยายตัวของ
โลกาภิวัตน์ภายใต้อิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา (Atkinson, 2015;
Bourguignon, 2015; Scheidel, 2017; Ostry, Loungani and Berg, 2019) งานจำนวน
ไม่น้อยได้ชี้ให้เห็นถึงชุดของนโยบายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาษี
อัตราก้าวหน้า ภาษีรายได้จากทุน ภาษีมรดก การปฏิรูปที่ดิน การดำเนินนโยบายสวัสดิการ
โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข การศึกษา การลดการผูกขาดในการแข่งขัน การสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับสหภาพแรงงาน การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น (ดู Atkinson, 2015; Scheidel, 2017)
แม้ว่าจะมีความเข้าใจดังกล่าว แต่การผลักดันให้ข้อเสนอเหล่านี้กลายเป็นแนวนโยบายล้วนแล้ว
เป็นสิ่งที่ยากลำบาก จำเป็นต้องอาศัยทั้งเจตจำนงทางการเมืองอันแรงกล้าของรัฐบาลและ
ชนชั้นนำ ความร่วมมือระหว่างประเทศ และแรงผลักดันจากทั้งชนชั้นกลาง และมวลชน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 ที่มองว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว และจะลดลงเมื่อการพัฒนา
ในภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า มุมมองที่มีต่อเรื่องความเหลื่อมล้ำได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นมุมมองที่ว่าความเหลื่อมล้ำคือ ปัญหาที่ต้องได้รับ
การแก้ไข จากกระแสโลกในยุคปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่ามุมมองเช่นนี้ได้เริ่มกลายเป็น “ฉันทามติ
ว่าด้วยความสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ที่ตัวแสดงฝ่ายต่าง ๆ มีความเห็นร่วมกัน