Page 233 - kpi21190
P. 233
233
งานของคุซเนตส์สอดรับเป็นอย่างดีกับกระแสทฤษฎีการพัฒนาไปสู่ความทันสมัยที่กำลัง
ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น โดยกระแสงานกลุ่มนี้มุ่งเน้นความสำคัญของการพัฒนา
เศรษฐกิจบนฐานของอุตสาหกรรม การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมระหว่างภาคส่วน
เศรษฐกิจต่างๆ และความเชื่อที่ว่าในท้ายที่สุดผลจากการพัฒนาที่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และ
ภาคอุตสาหกรรมจะไหลล้นไปยังภาคส่วนอื่นๆ ด้วยเหตุที่ความเชื่อเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่
ลูเชียน พาย (Lucian Pye) ตั้งข้อสังเกตว่าเป็น “จอกศักดิ์สิทธิ์” (grail) ที่ทุกคนทั่วโลกต่าง
ยึดเป็นเป้าหมายร่วมกันที่อยู่เหนือการเมือง และข้ามเส้นแบ่งทางอุดมการณ์” (Pye, 1979)
ได้ส่งผลตามมาทำให้มุมมองของนักวิชาการ รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในขณะนั้นไม่ได้มองว่า
“ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหา” หากแต่มองว่าเป็นสิ่งปกติในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่
ความทันสมัย
มุมมองดังกล่าวสอดรับกับแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองสายอิสระเสรีนิยม
(libertarianism) ในยุคนั้น โดยเฉพาะงานของรอเบิร์ต โนซิก (Robert Nozick) ซึ่งมีฐานคิดที่
ว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกันตั้งแต่แรก แต่มีความแตกต่างกันในความพยายาม ศักยภาพ และ
ความสามารถ ในแง่นี้ความเหลื่อมล้ำในแง่ของการสั่งสมความมั่งคั่งระหว่างปัจเจกชน (ที่เกิด
จากความแตกต่างในความสามารถและความพยายาม) จึงเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และเป็นเรื่อง
ชอบธรรม การตั้งคำถามกับความมั่งคั่งของผู้อื่นที่ตนไม่อาจแสวงหามาได้ตามทัศนะของโนซิก
เป็นเรื่องของ “ความอิจฉา” (Nozick, 1974) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความเหลื่อมล้ำไม่ได้ถูกมอง
ว่า “ถูก” หรือ “ผิด” หรือไม่ใช่ประเด็นในเชิงศีลธรรม หากแต่เกิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์
นั่นเอง
หนึ่งในงานสำคัญที่เป็นจุดตั้งต้นให้โนซิก (Nozick) ได้พัฒนาข้อถกเถียงข้างต้นคืองาน
ของจอห์น รอลส์ (John Rawls) ในงานที่มีชื่อว่าทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรม (Theory of Justice)
รอลส์ได้เสนอหลักการที่เรียกว่า “การกระจายรายได้ของคนที่ร่ำรวยที่สุดมาเพิ่มส่วนแบ่งรายได้
ของคนที่ยากจนที่สุด” (maximin or difference principle) และหลักการความเสมอภาคในแง่
ของโอกาส (equality of opportunity) ที่หัวใจสำคัญอยู่ที่ความแตกต่างในสถานะทาง
เศรษฐกิจและสังคมไม่ควรเป็นอุปสรรคในแง่ของโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งในเรื่องการศึกษา
และการทำงาน (Rawls, 1999 [1971]) หากพิจารณาในแง่นี้งานของโนซิกและรอลส์ยังมี
จุดร่วมที่สำคัญคือการมุ่งเน้นสิทธิ เสรีภาพของมนุษย์ แต่มีความแตกต่างที่สำคัญตรงที่มุมมอง
ที่มีต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มคนที่มั่งคั่งที่สุดมายังกลุ่มคนที่ยากจนที่สุด และการยืนยัน
ในหลักการที่ว่าความแตกต่างทางสถานะทางสังคมไม่ควรจะเป็นอุปสรรคในเชิงโอกาส
นอกจากหลักการความเสมอภาคในแง่โอกาสแล้ว อีกหนึ่งหลักการสำคัญที่มักจะเป็น
ฐานสำหรับนักวิชาการ และผู้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำคือหลัก
ความเสมอภาคในแง่ของผลลัพธ์ (equality of outcome) หลักการนี้มองว่า แม้ว่าทุกคนจะ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ได้รับโอกาสในการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน แต่คนบางกลุ่มอาจเผชิญกับอุปสรรค ปัญหา หรือ