Page 229 - kpi21190
P. 229

229



                       ถัดจากข้อถกเถียงระลอกแรกที่มุ่งเน้น “ปัจจัยเชิงโครงสร้าง” ที่ส่งผลต่อกระบวนการ

                  ประชาธิปไตย งานในระลอกถัดมาได้หันมาให้ความสนใจในแง่มุมที่งานกลุ่มแรกไม่ได้ศึกษา
                  มากนัก นั่นคือ “ปัจจัยเชิงตัวแสดง” หากงานกลุ่มแรกเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทเชิงแนวคิดและ
                  นโยบายสาธารณะ ที่นักวิชาการ องค์กรระหว่างประเทศ และรัฐบาลประเทศมหาอำนาจ
                  พยายามสนับสนุนทฤษฏีการทำให้ทันสมัย (modernization theory) งานในกลุ่มที่สองเกิดขึ้น

                  ท่ามกลางบริบทของการก่อตัวของคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนสู่ประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่
                  1970 จากคุณลักษณะของปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย (transition to
                  democracy) ที่ในหลายกรณีเกิดขึ้นในบริบทของประเทศที่ไม่ได้มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ
                  ที่สูงมากนัก ทำให้งานในกลุ่มที่สองได้ทำการอธิบายในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับงานกลุ่มแรก

                  โดยมุ่งอธิบายบนฐานของ “ตัวแสดง” โดยเฉพาะบทบาทของชนชั้นนำเป็นสำคัญ จากการมุ่ง
                  ศึกษา “ช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน” ทำให้นักวิชาการที่มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ลักษณะนี้ได้รับ
                  การเรียกขานว่า “นักวิชาการด้านศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่าน” (transitologists)

                  แผนภาพที่ 1 ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย




                   เผด็จการอำนาจนิยม  ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง  ประชาธิปไตยเสรีนิยม  ประชาธิปไตยก้าวหน้า

                  ที่มา: ปรับปรุงจาก (Schedler, 1998).


                       ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ได้เกิดแนวการศึกษาระลอกที่สามขึ้นมา โดยนักวิชาการกลุ่มนี้
                  มุ่งเน้นศึกษาช่วงเวลาหลังการเปลี่ยนผ่าน ทั้งในแง่ของความท้าทายที่ประเทศประชาธิปไตย
                  เกิดใหม่ต้องเผชิญ และปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประชาธิปไตยสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ

                  จนทำให้ประชาธิปไตยสามารถตั้งมั่นได้ ในภาพรวมอาจเรียกนักวิชาการกลุ่มนี้ว่าเป็น
                  “นักวิชาการด้านศาสตร์ของการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตย”
                  (consolidologists) เป็นที่น่าสังเกตว่าความสนใจของนักวิชาการกลุ่มนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับ
                  บริบทหลังการขยายตัวของประเทศประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สามในภูมิภาคต่างๆ โดยภายหลัง

                  การเปลี่ยนผ่านหลายประเทศต้องเผชิญกับปัญหานานัปการในการทำให้ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้น
                  มาใหม่นี้สามารถเดินไปข้างหน้ายกระดับคุณภาพประชาธิปไตย หรือรักษาสถานะของ
                  ประชาธิปไตยให้ตั้งมั่นได้อย่างยั่งยืน ในหลายกรณีประเทศเหล่านี้ต้องประสบกับปัญหา “การ
                  ล่มสลายของประชาธิปไตย” (democratic breakdown) และต้องกลับไปอยู่ภายใต้การ

                  ปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้งหนึ่ง (ดูแผนภาพที่ 1)

                       จากแผนภาพที่หนึ่ง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย คือ การเปลี่ยนจากเผด็จการ          การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                  อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง สำหรับการศึกษาความมั่นคงและยั่งยืนให้กับ
                  ประชาธิปไตยนั้นสามารถเป็นไปได้ในสองลักษณะ ได้แก่ ในแง่มุมแรก การมุ่งศึกษาปัจจัยหรือ
   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234