Page 230 - kpi21190
P. 230
230
แง่มุมที่จะไม่ทำให้ประชาธิปไตยย้อนกลับ โดยการย้อนกลับในที่นี้ครอบคลุมทั้งการล่มสลาย
ของประชาธิปไตย หรือการที่ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งย้อนกลับเป็นเผด็จการอำนาจนิยม
และการผุกร่อนของประชาธิปไตย (democratic erosion) ที่เกิดขึ้นเมื่อระดับคุณภาพของ
ประชาธิปไตยเสื่อมถอยลง เช่น จากเดิมเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมแต่เสื่อมถอยลงมาเป็น
ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง เป็นต้น ในอีกแง่มุมหนึ่ง นักวิชาการในกลุ่มนี้มักจะศึกษาความ
เปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประชาธิปไตยสามารถยกระดับคุณภาพก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นการทำประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ (completing democracy) ที่เกิดขึ้นเมื่อ
ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งสามารถยกระดับเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมได้ หรือการหยั่ง
รากประชาธิปไตย (deepening democracy) ซึ่งเกิดจากการเพิ่มคุณภาพจากประชาธิปไตย
เสรีนิยมเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้า (Schedler, 1998)
หากพิจารณาในแง่นี้แนวคิดคุณภาพประชาธิปไตย คือ การต่อยอดการศึกษาการสร้าง
ความ มั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตย โดยมุ่งเน้นในแง่มุมเชิงบวกของการสร้างความมั่น
คงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตย นั่นคือแง่มุมของการยกระดับคุณภาพประชาธิปไตยให้ก้าวไป
ข้างหน้า ภายใต้จุดร่วมดังกล่าวนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้พัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพประชาธิปไตย
ในลักษณะต่าง ๆ (ดู ไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์, 2553) รวมทั้งพัฒนาแนวทาง
การประเมินคุณภาพทั้งที่อยู่บนฐานของการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินโดย
ประชาชนหรือคนในท้องถิ่นในแต่ละประเทศ และในล่าสุดได้พัฒนาเกณฑ์การประเมิน และ
ขอบเขตในการประเมินให้ครอบคลุมในระดับโลก (ดู International Institute for Democracy
and Electoral Assistance, 2017; Campbell, 2019)
นอกจากการศึกษาแง่มุมของการยกระดับคุณภาพประชาธิปไตยแล้ว อีกกระแสหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา คือ การมุ่งศึกษาแง่มุมที่ทำให้คุณภาพประชาธิปไตยลดต่ำลง
หรือกระทั่งเสื่อมถอยกลับไปเป็นเผด็จการอำนาจนิยม นักวิชาการในกลุ่มนี้ได้นำเสนอแนวคิด
หลายประการที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการย้อนกลับของประชาธิปไตย (democratic
backsliding) (ดู Bermeo, 2016; Waldner and Lust, 2018) การเสื่อมความเข้มแข็งของ
ประชาธิปไตย (democratic deconsolidation) (ดู Foa and Mounk, 2016; 2017) หรือ
อาการของประชาธิปไตยอ่อนแอ (weak democratic syndrome) (Haggard and Kaufman,
2016) หากพิจารณาจากการขยายตัว ของกระแสการศึกษานี้ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับ
แนวโน้มการเสื่อมถอยของประชาธิปไตย (ดูตารางที่ 1) ทั้งที่เกิดจากการขยายตัวของกระแส
อนุรักษนิยม และประชานิยม (ดู ไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์, 2561) ทั้งในประเทศ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 นิยม ทั้งที่เกิดจากการรัฐประหาร การยึดอำนาจตนเองโดยผู้นำที่มาจากประชาธิปไตย การโกง
ประชาธิปไตยที่ค่อนข้างก้าวหน้า และประชาธิปไตยเกิดใหม่ การย้อนกลับไปสู่เผด็จการอำนาจ
หรือการใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้ง การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการ
แทรกแซงองค์กรตรวจสอบและถ่วงดุล และกดทับฝ่ายค้าน และการยึดอำนาจโดยข้ออ้างว่าจะ
ปกป้องประชาธิปไตย (ดู Bermeo, 2016; International IDEA, 2017)