Page 232 - kpi21190
P. 232

232



                     ในภาพรวม จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของการศึกษากระบวนการประชาธิปไตยได้เริ่มต้น

               จากการมุ่งศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้าง ก่อนจะมาให้ความสัมพันธ์กับตัวแสดงเป็นสำคัญ สำหรับ
               แนวทางการศึกษาในยุคต่อมาที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาธิปไตย
               นั้น งานส่วนมากมักจะผสมผสานปัจจัยทั้งสองลักษณะนี้เข้าไว้ด้วยกัน และมักจะทำการศึกษา
               ในลักษณะของ “ปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์” ที่ให้ภาพทั้งการตัดสินใจของตัวแสดงภายใต้

               ข้อจำกัดเชิงสถาบัน และโครงสร้าง ในบางกรณีได้มีการผสมผสานปัจจัยภายนอกเข้าไว้ใน
               การศึกษาด้วยเช่นกัน สำหรับจุดมุ่งเน้นในการศึกษาในยุคปัจจุบันนี้สามารถจำแนกได้เป็น
               สองส่วนนั่นคือการมุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพของประชาธิปไตย ซึ่งอาจ
               เรียกรวมว่าเป็นกลุ่ม “คุณภาพของประชาธิปไตย” และการมุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลทำให้

               ประชาธิปไตยย้อนกลับหรือไม่ย้อนกลับ โดยอาจเรียกรวมว่ากลุ่ม “การย้อนกลับของ
               ประชาธิปไตย” จุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันนี้โดยมากมาจากกรณีศึกษาและความสนใจที่แตกต่าง
               กันของนักวิชาการ

               ว่าด้วยการศึกษาความเหลื่อมล้ำ


                     การศึกษาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างแตกต่างจากการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย

               ค่อนข้างมาก หนึ่งในสาเหตุของความแตกต่างที่สำคัญคือ ขณะที่มุมมองต่อประชาธิปไตย
               ของนักวิชาการค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่สนับสนุนประชาธิปไตย แต่มุมมองของ
               นักวิชาการที่มีต่อความเหลื่อมล้ำค่อนข้างจะมีความแตกต่างหลากหลาย และขัดแย้งกัน
               อย่างมาก ขณะเดียวกันในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำยังเกี่ยวเนื่องกับนักวิชาการหลากหลาย

               สาขาตั้งแต่ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์อีกด้วย จากความหลากหลายในการศึกษา
               ด้านความเหลื่อมล้ำทำให้การจัดกลุ่มข้อถกเถียงในเรื่องนี้ค่อนข้างยากลำบาก ในการทบทวน
               การศึกษาความเหลื่อมล้ำในที่นี้จะมุ่งเน้นที่ประเด็นสำคัญที่สุดนั่นคือมุมมองที่มีต่อปัญหา
               ความเหลื่อมล้ำ ว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งปกติ เป็นเรื่องธรรมชาติ หรือเป็นปัญหาและ

               ความท้าทายของสังคมที่ต้องแก้ไข

                     ต่อประเด็นนี้หนึ่งในงานที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อมุมมองทางการศึกษาและเชิงนโยบาย
               อย่างมากคืองานของไซมอน คุซเนตส์ (Kuznets, 1955) ในงานดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า
               ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ความทันสมัยที่ขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม

               ความเหลื่อมล้ำจะสูงขึ้น โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและ
               ภาคการเกษตร และระหว่างเมืองและชนบท อย่างไรก็ตามเมื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมได้เพิ่ม
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   คนกลุ่มนี้มักจะมีบทบาทเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอง และลดผลกระทบทาง
               สูงขึ้น การขยายตัวของเมืองสูงขึ้น จำนวนคนรายได้ต่ำที่อยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นตามมา และ


               ลบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม จากปัจจัยดังกล่าวนี่เองที่จะทำให้ในระยะยาวความเหลื่อมล้ำ
               จะเริ่มลดลงตามลำดับ จากทฤษฎีดังกล่าวของคุซเนตส์ได้มีการพัฒนากลายเป็น “เส้นโค้งของ
               คุซเนตส์” (Kuznets curve)
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237